วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

ในบทหนึ่งของคัมภีร์ศาสนาเต๋า




ตอบคำถาม: 
Anothai Bunjong

กราบเรียนถามท่าน อ.ปริญญา
ขออาจารย์เมตตาเสริมเติมปัญญา..
ในบทหนึ่งของคัมภีร์ศาสนาเต๋า กล่าวว่า 

Question 1:
จากเอกธาตุแปรเปลี่ยนเป็นไตรวิสุทธิธาตุ 
Answer:
คำกล่าวขานนั้นหมายถึง

จาก 1 ดวงจิตธรรมญาณ
ก็ก่อกำเนิดขึ้นเป็น 3 ภาคส่วนบริสุทธิ์

*ภาคแรก คือ "กายหยาบ"
ซึ่งเป็นสรรพสิ่งหนึ่งในมิติทางกายภาพ
ที่จะเป็นเครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์
ทั้งเพศหญิงหรือเพศชายในวันข้างหน้า

*ภาคสอง คือ "จิตวิญญาณ"
ซึ่งเป็นรูปธรรมทางพลังงาน
ผู้ขันอาสาพระบิดาลงมาเกิดเป็นมนุษย์
ที่เป็นตัวตนแก่นแท้ในเครื่องยนต์แห่งกรรม

*ภาคสาม คือ "จิตหยาบ" หรือ จิตมนุษย์
ซึ่งเป็นรูปธรรมทางพลังงาน
ที่จิตวิญญาณแบ่งภาคตนเองออกมา
เพื่อให้ช่วยทำหน้าที่แทนตนเอง
ในการควบคุมกลไกกระบวนการต่างๆ
ของเครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์
ให้ถูกต้องเหมาะสมและดีงาม
ตามที่จิตวิญญาณผู้มาเกิดนั้นต้องการ

Question 2:
จากไตรวิสุทธิธาตุนี้
ได้ก่อกำเนิดธาตุไม้ขึ้นทางทิศบูรพา 
ธาตุทองกำเนิดทางทิศประจิม 
กำเนิดตรงศูนย์กลางคือธาตุดิน 
ธาตุไฟกำเนิดขึ้นทางทิศทักษิณ
และธาตุน้ำกำเนิดขึ้นทางทิศอุดร 

Answer:
เมื่อดวงจิตธรรมญาณ
ให้กำเนิดกายหยาบกับจิตหยาบ
รวมเป็น 3 ภาคส่วนแล้ว

ลำดับถัดมาก็คือการสั่นสะเทือนร่วมกัน
เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต
เป็นเครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมนุษย์
ที่สมบูรณ์พร้อมต่อการใช้งา
ทั้งในมิติทางพลังงานด้านของแก่นแท้
และมิติทางกายภาพ
ในด้านของเครื่องยนต์แห่งกรรม

ดังนั้น
ทั้งสามภาคส่วนจึงได้ร่วมกันสร้าง
ส่วนที่เป็นกายหยาบให้เป็นโครงสร้างหลัก
เพื่อใช้ห่อหุ้มดวงจิตธรรมญาณ
และจิตหยาบเอาไว้ภายใน
เราเรียกว่า "การปฏิสนธิทางวิญญาณ"
โดยกำหนดให้กายหยาบเป็น "ธาตุดิน"
เพราะเป็นจุดศูนย์รวมของทุกสรรพสิ่ง

จากนั้นก็ร่วมกันสร้างช่องปากและลิ้นขึ้น
เพื่อเอาไว้ดูดซับน้ำและอาหาร
เข้าไปหล่อเลี้ยงธาตุดินอีกทีหนึ่ง
จึงกำหนดให้ลิ้นเป็น "ธาตุไม้"

ร่วมกันสร้างช่องจมูกเอาไว้หายใจ
นั่นคือการสูดซับรับเอาอากาศดีเข้าไป
แล้วถ่ายเอาอากาศเสียออกมา
ในลักษณะของการหายใจเข้า-ออ

ถ้าไม่มีช่องจมูกกายหยาบก็จะต้องตาย
จิตหยาบกับจิตวิญญาณก็อยู่ไม่ได้
อากาศบริสุทธิ์ที่กายหยาบต้องการ
จึงเป็นของมีค่าราคาแพงดั่งทอง
นี่จึงเป็นเหตุแห่งการกำหนดให้
อากาศที่ใช้หายใจให้เป็น "ธาตุทอง"
หรือ "ธาตุลม" นั่นเอง

นอกจากนั้นยังร่วมกันสร้างดวงตา
ให้เป็นช่องทางรับรู้ของคลื่นแสง
ซึ่งท่านเปรียบไว้คล้ายดั่งไฟ
แสงที่ส่องเข้าไปกระทบในดวงตา
จึงเรียกว่า "ธาตุไฟ"

ลำดับสุดท้ายที่จะกล่าวถึงก็คือ
การร่วมกันสร้างช่องหู
เพื่อให้รับรู้ "คลื่นเสียง" จากภายนอก

เนื่องจากคลื่นเสียงที่ผ่านเข้าสู่ประสาทหู
มันเดินทางมาแบบคลื่นที่สั่นเป็นระลอก
ต่อๆกันมาเรื่อยๆคล้ายคลื่นน้ำ
โดยมีตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนผ่านคืออากาศ
จึงกำหนดให้ช่องหูที่สร้างขึ้นมาทั้งสองข้าง
เป็นที่กำเนิดของ "ธาตุน้ำ"

นี่จึงเท่ากับว่า
ทั้ง 3 ภาคส่วนก็ได้ร่วมกันสร้าง
เครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์
ที่มีกลไกอายตนะภายนอกทั้ง 5 ขึ้นมา
คือ ตา หู จมูก ลิ้น+ปาก และกายสัมผัส
อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

Question 3:
เมื่อธาตุทั้งห้าครบองค์ 
วิถีแห่งจักรวาลจึงเริ่มเคลื่อนหมุน 

Answer:
เมื่อเครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์
ถูกสร้างขึ้นโดยสมบูรณ์แบบแล้ว
เจ้ากุมารน้อยผู้ปฏิสนธินั้
ก็จะพร้อมเป็นสรรพสิ่งหนึ่งในจักรวาลนี้
ที่จักต้องหมุนธรรมจักรในตนเองให้ได้

แล้วร่วมกันกับเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ
ช่วยกันขับเคลื่อนดาวโลกเสรีดวงนี้
ให้เหวี่ยงหมุนไปด้วยกันอย่างไม่สิ้นสุด
เพื่อปฏิบัติตามพันธะสัญญา 6 ต่อไป
ทั้งหมดที่กล่าวนี้เป็น "วิถีแห่งจักรวาล"

Question 4:
ธาตุไม้ (บิดา) ธาตุทอง(มารดา)
ได้ผสมผสานกันขึ้น
ได้ก่อกำเนิดจิตวิญญาณเดิม 96 ดวง 
แผ่คลุมไปทั่วสากลโลก 

คำถาม เอกธาตุ คือ พระบิดา ? 
ไตรวิสุทธิคงคา และ ห้าธาตุ 
คือแดนใด ในเอกภพ 
ใช่แดนสุญญตาหรือไม่? 

ทำไมจึงกล่าวว่าก่อกำเนิด
จิตวิญญานเดิม 96 ดวง ? 

เต๋ากล่าว 3 5 ก่อเกิด 9 6 สร้างสรรค์สรรพสิ่ง
ขออาจารย์เมตตาเสริมเติมปัญญา..

Answer:
คำถามข้อนี้เราจะกล่าวความจริง
เท่าที่เราจะกล่าวได้ดังนี้

1.เอกธาตุ คือ พระบิดา 
2.ไตรวิสุทธิคงคา คือ แม่น้ำสามสาย
อันหมายถึงพระบิดา พระบุตร และพระจิต
ในมิติทางพลังงานแห่งจักรวา

3.ไตรวิสุทธิคงคา คือ แม่น้ำสามสาย
อันหมายถึงจิตวิญญาณ
จิตหยาบ และกายหยาบ
ในมิติโลกด้านกายภาพ

4.ที่ท่านถามมา
ไม่มีสิ่งใดเกี่ยวกับเอกภพและแดนสุญตา
ผู้กล่าวสอนมิได้หมายไกลอย่างที่คิด

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
13-4-2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น