วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

พันธสัญญา




อยากให้อาจารย์อธิบายว่าทุกคนมีหน้าที่และบทบาทในการจรรโลงโลกอย่างไร
?...ทุกคนเกิดมาเพื่อแสดงบทละคร... เราเรียกมันว่า ชะตาชีวิต ที่พวกเราเองเป็นผู้ลิขิตก่อนที่จะมาเกิด อย่างถ้าสมมุติ คุณเกิดมาเป็นภรรยาที่ดีของผม นั่นแสดงว่า...คุณเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จิตใจของผมมีความสุข ดีใจ ผมรักคุณมากเพราะคุณเป็นเมียที่ดี เช่นกัน...ถ้าผมเป็นสามีที่ดีของคุณ คุณก็รักผม รักมากเพราะสามีเป็นคนดี ความรักความเมตตาที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา จิตใจของเราเวลาสั่นสะเทือนเป็นอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด กลไกในร่างกายของเราที่พระบิดาสร้างไว้ คือต่อมไร้ท่อทั้งหลาย มันเป็นกลไกที่ใช้ทำงานร่วมกันกับภาคของจิตวิญญาณของตัวเรา เป็นมิติของจิต มันจึงเป็นต่อมที่ไร้ท่อ เพราะมันใช้คลื่นวิทยุคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กสื่อสัญญาณกัน มันเลยไม่ต้องใช้เส้นประสาท ก็มันทำหน้าที่ทางจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้น ขณะที่คุณมีความรัก กลไกต่อมไร้ท่อหลายต่อมในร่างกายคุณ มันจะเกิดการสั่นสะเทือนตื่นตัวขึ้นมาทำงาน แล้วมันสามารถจะไปสร้างคลื่นความถี่ทางไฟฟ้าแม่เหล็ก เหวี่ยงออกมาภายนอกได้ ที่เราเรียกกันว่า พลังจิต...
แต่ถ้าคุณสั่นสะเทือนความรู้สึกนึกคิดของคุณออกมาเป็นความโลภ โกรธ หลง ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่ากิเลสตัณหาที่ท่านสอนให้ละวาง เพราะถ้าสั่นสะเทือนแบบนี้ มันก็จะไปผลิตคลื่นไฟฟ้าทางแม่เหล็กเหมือนกัน แต่เป็นพลังชนิดที่โลกไม่ต้องการ มันจะเป็นด้านลบ
ในทางพลังงาน โลกต้องการพลังงานด้านบวกจากมนุษย์ จากต้นไม้ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต และจากสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย พระพุทธเจ้าห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พระพุทธเจ้าสอนให้มนุษย์อยู่กับต้นไม้ ไม่ให้ทำลายป่า ต่าง ๆ เหล่านี้ พระพุทธเจ้าทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพื่อนร่วมงานกับเรา ที่จะช่วยกันสร้างพลังงานจิตด้านบวกให้กับโลก
...คุณรู้มั้ย โลกเราถ้าไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ โลกเราจะหมุนรอบตัวเองไม่ได้ โลกเราจะมีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มโลกนี้ไม่ได้ เราจะไม่มีออกซิเจนหายใจ เราจะไม่มีสิ่งดี ๆ หลายสิ่งที่เราดำรงอยู่บนโลกใบนี้ได้ ถ้าโลกนี้ไม่มีสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์ด้วย
...นักวิทยาศาสตร์โลกบอกว่า ใจกลางโลกมีแท่งเหล็กแข็ง ๆ ร้อน ๆ อยู่แท่งหนึ่งข้างใน ถามว่าคุณเชื่อเขาใช่มั้ย เชื่อเขาเพราะอะไร เพราะคิดว่าเขารู้ใช่มั้ย แต่จริง ๆ ก็คือ การเดา นั่นคือการคาดคะเน นั่นคือสมมุติฐาน นักวิทยาศาสตร์โลกจะเชื่อสิ่งใดเขาทำได้สองอย่างคือ ถ้าไม่ใช้ 'เวิร์บทูดู' ก็ 'เวิร์บทูเดา'...
เวิร์บทูดู คือพิสูจน์ดูให้เห็นให้รู้แล้วยืนยัน นอกนั้นตั้งเป็นสมมุติฐานไว้ก่อน ถ้าวันใดค้นพบทฤษฎีใหม่ที่ล้มเลิกของเก่าได้ ก็จะเริ่มเอาใหม่ เช่น สมัยก่อน บอกว่าโลกแบน บอกว่าโลกเราเป็นจุดศูนย์กลางของระบบจักรวาล ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก พอกาลิเลโอผลิตกล้องโทรทรรศน์ส่องได้ และเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของโลก ที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์เลยค้นพบว่า ไม่ใช่เลย จริง ๆ แล้ว ดวงอาทิตย์อยู่กับที่ โลกต่างหากที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ กาลิเลโอถูกจับขังคุกเกือบตาย เพราะไปทำลายความเชื่อที่โง่เง่าของคนรุ่นใหญ่ แต่ในที่สุด วันนี้เราก็เชื่อกาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนหาว่ากาลิเลโอเป็นเจ้าลัทธิ จะมาสร้างลัทธิใหม่ เหมือนกับที่หลายคนมองอาจารย์ปริญญา หาว่าผมคงจะเป็นแบบเดียวกับกาลิเลโอ หรือ หัวเราะเยาะว่า คงเหมือน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่บอกว่าโลกกลม แต่ตอนนี้ถามว่าเราเชื่อใคร เราเชื่อโคลัมบัสที่ว่าโลกกลม มนุษย์เนี่ย ง.งู มาก่อน ฉ .ฉิ่ง แต่ก็ไม่เคยสำนึก เราไปเชื่อนักวิทยาศาสตร์โลก...?
แล้วจริง ๆ ใจกลางโลกของเราเป็นอะไรคะ
?พระบิดาไม่ได้ทรงสร้างแท่งเหล็กแข็ง ๆ ร้อน ๆ ไว้ใจกลางโลกหรอก แต่ทรงสร้างก้อนธาตุออกซิเจนเหลวที่บริสุทธ์ และเข้มข้นร้อยเปอร์เซนต์เอาไว้ในใจกลางโลก ลักษณะของมันก็คือ เหนียวหนืดคล้าย ๆ ตังเม เดิมมันใส เขียวใสสีมรกต เสร็จแล้วมีอานุภาพประจุไฟฟ้าของอะตอมธาตุออกซิเจนเนี่ย จะมีค่าเป็นลบไว้ในใจกลางโลก เพื่อที่จะเอาไว้ทำปฏิกิริยานิวเคลียร์กับประจุไฟฟ้า ที่เกิดจากพลังจิตของมนุษย์ เวลามนุษย์รักกัน ก็จะเหวี่ยงพลังจิตให้กัน 1 เปอร์เซนต์ของพลังจิตที่คุณเหวี่ยงออกไป มันจะแทรกซึมเข้าไปในใจกลางโลกที่คุณเหยียบอยู่ ประจุบวกที่ติดไปกับพลังจิตที่แทรกซึมลงไปใจกลางโลก มันจะไปทำปฏิกิริยานิวเคลียร์กับอนุภาคประจุไฟฟ้าลบของอะตอมธาตุออกซิเจน บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซนต์ ที่พระองค์ติดตั้งไว้ในใจกลางโลก ปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้พระบิดาทรงเรียกว่า นิวเคลียร์ ฟิสชั่น ซึ่งจะทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงบริเวณพื้นผิว ผิวนอกของก้อนธาตุออกซิเจน เมื่อมันเกิดการระเบิดขึ้น ก้อนธาตุซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวหนืดคล้าย ๆ ตังเม มันก็จะเกิดการบิดตัวขึ้น และโลกเราซึ่งมีพื้นน้ำ 3 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน เพราะถ้าในใจกลางโลก ถ้ารอบ ๆ ด้านมันมีการระเบิดพร้อม ๆ กัน มันก็จะไม่เกิดอะไรขึ้น โลกก็จะหมุนรอบตัวเองไม่ได้ แต่นี่อยู่เป็นที่ ไม่ได้อยู่รอบ ๆ โลก การที่มันระเบิดไม่พร้อมกัน การบิดตัวของมันก็จะเกิดขึ้น พอบิดตัวขึ้นมาปั๊บ มันก็ทำให้โลกหมุนไป โลกเราที่หมุนรอบตัวได้ก็เพราะเหตุนี้...
นี่คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์โลกไม่รู้เพราะไม่เห็น และไม่มีใครคิดตาม ถามว่าทำไมโลกหมุนรอบตัวเองได้ เขาบอกว่าเกิดตั้งแต่ระเบิดใหญ่ 'บิ๊กแบง' แล้วถามว่าโลกเกิดมาเมื่อไหร่ เขาบอกเป็นพันล้าน ๆ ปี ผมถามหน่อยเถอะว่า ลูกข่าง เวลาเราเหวี่ยงไปปั๊บ ตอนเขวี้ยงไปใหม่ ๆ แกนมันจะตั้งแล้วก็หมุน ๆ ไป แต่ถามว่า ลูกข่างทำไมไม่เห็นมันอยู่ได้เป็นล้าน ๆ ปี เดี๋ยวมันก็ล้มเมื่อหมดแรงเหวี่ยง โลกเราที่มันเหวี่ยงไปเรื่อย ๆ เพราะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนโลก เราใส่พลังงานให้มันไปอยู่เรื่อย ๆ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม ศาสดาทุกองค์จึงสอนมนุษย์ให้รักกัน ให้มีเมตตาต่อกัน แล้วพระพุทธเจ้าก็ทิ้งไว้ว่า เมตตาธรรมค้ำจุนโลก โลกอยู่ได้เพราะมนุษย์ทำให้มันหมุน สัตว์ ต้นไม้ ทำให้หมุน เราจึงต้องรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยเติมเต็มพลังงานความรัก ถามว่าจิตวิญญาณมาเพื่อทำอะไร ก็มาเพื่อเกิดเป็นมนุษย์ และเพื่อมาทำตรงนี้...
โลกเราแม้จะมีคนเลวอยู่เยอะแยะ แต่ไม่เป็นไร อย่างน้อย ๆ ให้มีคนประมาณ 1 - 3 เปอร์เซ็นต์ สำนึกในเรื่องของความรัก โลกเราก็จะยังอยู่ได้ นี่คือความแยบยลที่พระบิดาทรงสร้างไว้ เพราะโลกนี้เป็นโลกเสรี มนุษย์มักจะเลวก่อนที่จะเป็นคนดี เลวตอบกันไปตอบกันมา อย่างที่บอกว่า บางคนสมองง่อยไปบ้าง การใช้สมองซึ่งเป็นกลไกของตัวเรานั้น เราต้องใช้ให้ถูกต้อง เพราะเราเป็นเพื่อนร่วมงานของกันและกัน อย่างคุณโดนเอาเปรียบ คุณโกรธแค้นเขา อย่างนี้เรียกว่าคุณใช้สมองไม่ถูกต้อง คุณก็ต้องมาเกิดใหม่ เพื่อมาเรียนรู้ในการที่จะใช้สมองของตัวเองให้ถูกต้อง อย่างน้อยคือ ต้องเห็นคุณค่าสติปัญญาของตัวเอง เพราะฉะนั้น ชาตินี้เกิดมาสมองพิการ สมองง่อย เป็นอัลไซเมอร์ นั่นคือการสอนให้จิตวิญญาณของตนเองสำนึกรู้ว่า เครื่องยนต์แห่งกรรมในร่างกายของเรานี่มันมีประโยชน์ มีคุณค่า ต้องใช้มันให้เป็นและใช้ให้ถูกต้อง?
กลับมาที่เมืองไทย อาจารย์มองเห็นภาพในอนาคตเปลี่ยนไปอย่างไรคะ
?...อาจารย์บอกว่า ประเทศไทยเรา ด้ามขวานจะหักเป็นสามท่อน ที่ว่าหักคือจมทะเลไปหมดเลย หลายคนก็บอก เป็นไปไม่ได้ ไม่มีทางเกิดหรอก เหมือนที่ว่ากรุงเทพเนี่ย ไม่เกิดแผ่นดินไหวหรอก ผมบอกว่าเกิด ! ขนาดเมืองกาญจน์แผ่นดินไหวตั้ง 7 ริกเตอร์ กรุงเทพฯก็เตรียมตัวอันตรายได้แล้ว นี่ผมพูดในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ทางจิตนะ ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทางโลก ไม่ได้พูดทางวิทยาศาสตร์ทางกายภาพ (อาจารย์จบปริญญาตรี วทบ . ปริญญาโท MBA) ถ้าถามว่าผมรู้ได้อย่างไร ก็พระบิดาบอกผม
ผมยืนอยู่ท่ามกลางสังคมคนกว้างใหญ่ ผมสื่ออะไรต่ออะไรออกไปมากมาย ผมต้องทำตัวเองให้ว่างจากการมีตัวตน ผมต้องไม่หลงตัวเอง ผมต้องไม่ลืมตัว ต้องรู้ว่าผมเป็นใคร ผมต้องรู้ว่าผมทำหน้าที่อะไร เมื่อผมรู้ตัวผมตรงนี้แล้ว ตัวตนในทางโลกที่เป็นมายาผมไม่มี เพราะฉะนั้น ใครจะใช้จิตทำร้ายผม เขาก็ทำร้ายผมไม่ได้เพราะผมไม่มีตัวตน ผมก็ปลอดภัย...?
ทุกวันนี้อาจารย์กำลังจะบอกอะไรคนไทยหรือคะ
?บทบาทหน้าที่ของอาจารย์เกิดมาเพื่อจะเตือนสติทุกคนว่า เราได้รับอนุญาตให้มาเกิดเป็นมนุษย์เนี่ย ยุคหนึ่ง 6 หมื่นปี จิตวิญญาณหนึ่งต่ออายุ 6 หมื่นปี แต่นี่ปรากฎว่ายุคของจิตวิญญาณของพวกเราใช้เวลากันแล้ว หกหมื่นแปดร้อยปีโดยประมาณ คำว่าหกหมื่นปีแปลว่า ถ้ามาเกิดสักหกหมื่นปีแล้วต้องกลับบ้าน กลับบ้านก็คือนิพพาน ออกไปจากเปลือกไข่สู่อ้อมอกพระบิดาให้ได้ ในแดนนิพพาน อย่างที่พระพุทธเจ้าไป พระเยซูคริสต์ไป ที่องค์นะบีมะหะหมัดไป ถ้าเรายังอยู่ในนี้ก็ต้องผสมพันธุ์กันไป เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนี้ ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน อยู่แต่ในนี้ ตอนนี้เป็นหกหมื่นแปดร้อยปี เพราะพระบิดาเมตตาให้เราพยายามที่จะทำตัวเองหลุดพ้นให้ได้ คือ ทุกคนต้องกลับบ้าน แดนนิพพาน โลกนี้ไม่ใช่บ้านของเรานะ แต่มนุษย์งมงาย มัวแต่ไปวุ่นวายอยู่กับเรื่องทางโลก ไม่ใส่ใจ ไม่ดูแลจิตวิญญาณของตัวเอง บางคนลืมจิตวิญญาณของตัวเองไปด้วยซ้ำ พอใครพูดถึงเรื่องจิตวิญญาณก็หาว่า หัวโบราณ คร่ำครึ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ยังใช้จิตวิญญาณของตัวเองพูดต่อต้านจิตวิญญาณอยู่ อย่างนี้เขาเรียก ความมีสำนึกทางวิญญาณไม่มีเหลือเลย
การที่จะรู้แจ้งด้วยตัวเองได้นั้น เราต้องฝึกเรียนรู้ ศึกษาธรรมะ ฝึกทำจิตให้ผ่องแผ้ว อย่าให้จิตไปจมลึกตกหล่มอยู่กับกิเลสตัณหา ใช้ปัญญาให้เป็น ถือศีลปฏิบัติธรรมง่าย ๆ ถือศีลง่าย ๆ ก็คือ ไม่ล่วงเกินผู้อื่น ไม่ว่าด้วยกาย วาจา หรือใจก็ตาม ส่วนการปฏิบัติธรรมก็คือ รักให้เป็น รักให้ได้ คำว่ารักก็คือ เมตตา กรุณา มุทิตา ถ้าเป็นรักแบบองค์เยซูคริสต์ก็บอกว่า ต้องอดทนให้เป็น อดกลั้น เพื่อให้อภัยให้ได้แม้กับคนที่เราเห็นว่าไม่สมควรที่เราจะให้อภัย
งานของผมทุกวันนี้แทบไม่มีวันว่างเลย ผมเป็นวิทยากรสอนมนุษย์ คิดทฤษฎีไซโคโชว์เพื่อการถ่ายทอดพฤติกรรม มนุษย์ส่วนใหญ่บอกว่า ถ้าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนมันต้องจูงใจ แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า อย่าใช้ความอยากขับเคลื่อนพฤติกรรม เพราะนั่นคือ การใช้กิเลสตัณหา ซึ่งจะทำให้เราให้ความรักกับโลกไม่ได้ ค้ำจุนโลกไม่ได้ แต่ถ้าตราบใดที่เรายังไปใช้การจูงใจอยู่ ...จูงให้เกิดความอยาก จูงให้เกิดความโลภ ถ้าไม่ได้ก็โกรธ ถ้าได้มาแล้วก็ลุ่มหลงงมงายอยู่กับสิ่งนั้น จิตของเราจะไม่สามารถสตาร์ทพลังบวกเป็นความรักค้ำจุนโลกได้เลย กลายเป็นโมฆะบุรุษ เป็นโมฆะสตรี เท่านั้นยังไม่พอ ยังทำร้ายกันเองอีก เบียดเบียนกันอีก
ฉะนั้น วิธีการฝึกธรรมะก็คือ ถือศีล ไม่ก้าวล่วงผู้อื่นทางกาย วาจา ใจ แล้วก็ต้องเป็น ?มนุษย์? ให้เป็น คือละให้ได้ และคิดให้เป็น อย่าคิดถามหาตัวตน คิดในขณะที่จิตสุขสงบ คิดเพื่อ ?ให้? ไม่ได้คิดเพื่อ ?เอา? อย่างนี้เขาเรียก ปฏิบัติการทางเทคนิค หาปัญญาจากคิดเองให้ได้ ใช้อำนาจทางจิตภายใน คุณไม่จำเป็นต้องไปนั่งหลับตาทำสมาธิอย่างพระ ถามว่ามันใช้ได้ดีกับการดำเนินชีวิตของคุณไหม หรือ แค่พักผ่อนจิตของคุณให้มันสงบชั่วคราว อย่างเวลาเราคุยกัน เราต้องการสมาธิมากกว่าที่จะไปนั่งหลับตาทำสมาธิ
พระฝึกสมถะกรรมฐานแล้ว ท่านก็ใส่วิปัสสนากรรมฐานต่อยอดเข้าไป คือพิจารณาด้วยปัญญา คือฝึกคิด เพื่อหาปัญญา หาแสงสว่าง ส่วนเรา ...เพื่อการรู้แจ้ง ไม่ใช่หาปัญญาอย่างเดียว ต้องหาทางออกที่ถูกต้อง หาทางเลือกที่ถูกต้องด้วย เพราะเราต้องเกี่ยวกรรมกับใครต่อใครเยอะแยะ เพราะเรายังอยู่ในอาสวะกิเลส...?
อาจารย์คาดหวังจากการทำงานตรงนี้อย่างไรคะ
?ไม่ได้มีความคาดหวังใด ผมเหมือนดวงอาทิตย์ คุณสมบัติของดวงอาทิตย์ก็คือมีความร้อนแรงและแสงสว่าง เพราะฉะนั้น เมื่อมีคุณสมบัติใด หน้าที่ของสรรพสิ่งนั้น ในจักรวาลนี้ก็จะต้องแสดงตนเองออกมาให้กับทุกสรรพสิ่งได้สัมผัสรู้ ดูเห็นอย่างชัดเจนในความเป็นตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และสิ่งที่ตนแสดงออกมานั้นต้องเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ คือก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย ตัวเองจะเกิดประโยชน์สุขหรือไม่ เราไม่สนใจ แต่ผู้อื่นต้องได้ประโยชน์สุขด้วย
...ดวงอาทิตย์มีคุณสมบัติคือความร้อนกับแสงสว่าง เพราะฉะนั้น ดวงอาทิตย์ก็ต้องเปล่งความร้อน และแสงสว่างออกไปทุกทิศทาง ใครจะรับก็รับ ใครจะไม่รับเราก็ไม่ว่า แต่เรามีหน้าที่เปล่งประกายออกมา ถ้าพูดแบบจิตมนุษย์ก็คือ เรามีประสงค์ที่จะให้มนุษย์ทุกคนเกิดสติทางวิญญาณ เพื่อที่จะได้จูงมือกันกลับบ้าน มีสติทางวิญญาณคือ กลับมาเป็นคนดีก่อนที่โลกใบนี้มันจะเละเทะ และก่อนที่ตัวเองจะแหลกราญ เพราะโลกเสียสมดุล เนื่องจากมนุษย์มีความรักกันน้อยมาก โลกก็เลยหมุนช้าลง มันถึงเหวี่ยงหมุนเป็น 24 ชั่วโมง ต่อรอบ ...เดิมทีโลกหมุนเร็ว 22 ชั่วโมงต่อรอบ ตอนนี้มันหมุนช้าลงเพราะพลังงานที่ได้จากจิตมนุษย์น้อยลง มนุษย์ไม่รู้จักคำว่ารัก รักไม่เป็น รักไม่ได้ ไม่เชื่อพระศาสดา
สมัยนี้คุณสังเกตมั้ยว่า เวลาที่คุณเดินไปไหน มีแต่คนใจไม้ไส้ระกำ คนใจดำทั้งนั้น บางทีผัวเมีย พ่อแม่ ฆ่ากันตายได้ทั้งที่รักกัน แต่งงานกัน นอนกอดกัน พออารมณ์ไม่ดี ผิดใจกันหน่อยเดียว เอามีดเสียบแทงกันตาย ก็แสดงว่ารักไม่จริง มันเป็นความลุ่มหลง เป็นประเพณีอะไรก็ไม่รู้ ถ้ารักกันต้องฆ่ากันหรือ?
อย่างคำว่า ...รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี...ไปเข้าใจกันว่า ถ้ารักมากต้องตีแรง ๆ ตีเจ็บ ๆ...ไม่ใช่ครับ คำว่าตีนี่คือ ให้ตีด้วยความรัก ไม่ได้ตีด้วยไม้เรียวหรือตีด้วยไม้ตะพด หรือไม้หน้าสาม...
รักวัวให้ผูก คำว่าผูกนี่คือ ผูกพัน ไม่ใช่ผูกเชือก คนสมัยก่อนเขาเลี้ยงวัว เขาไม่ได้ผูกล่ามนะ เขาปล่อยมันไปตามอิสระ และ เดินไปด้วยกัน คุยกับมันไปด้วยได้ด้วยซ้ำ แต่คนสมัยนี้คุยกับสัตว์ไม่รู้เรื่องเพราะอะไร เพราะสัตว์ไม่ยอมฟัง เพราะความเมตตาดีงามในจิตใจไม่มี สัตว์มันรับกระแสตรงนั้นไม่ได้ มันเลยพูดกันไม่รู้เรื่อง?
นอกจากอาจารย์จะจัดคอร์ส ?ไซโคโชว์? แล้วยังใช้สื่อไหนบอกเรื่องราวจากจิตรจักรวาลสู่ผู้คนอีกคะ
?ผมสื่อด้วยการเขียนหนังสือ แล้วอาจารย์ก็รับไปบรรยายที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่ศูนย์สิริกิติ์ ไปบรรยายทุกปีครับ วันที่ 27 มีนาคมนี้ก็มีบรรยายด้วย มีคนฟังล้นทุกที ตอนนี้คนที่หายไปกลับมาฟังอาจารย์มากเลย ตั้งแต่เกิดสึนามิ... เพราะอาจารย์เตือนไว้ให้ระวังเมื่อ 2-3 ปีก่อน อาจารย์เตือนว่า ภัยร้ายจะเข้ามาหาตน คืบคลานเข้ามาช้า ๆ คืบคลานมาเรื่อย ๆ...?
นอกจากสึนามิแล้ว จะเกิดภัยพิบัติอะไรขึ้นอีกบ้าง
?...ภาคเหนือจะเกิดแม่น้ำสายใหม่ จังหวัดกาญจนบุรีจะมีทะเล เขื่อนบางเขื่อน น้ำจะเป็นน้ำทะเล ภูเขาจะพังและแยกออก น้ำทะเลก็จะทะลักเข้ามา เป็นต้น แล้วประเทศไทยเราก็จะมีภูเขาไประเบิดขึ้นมาตั้ง 3-4 แห่ง แต่อย่าถามว่าอีกเมื่อไหร่ อย่าถามเรื่องเวลา ถ้าผมบอกไปมันก็จะเลื่อน และถ้าเลื่อน มนุษย์ก็จะเจอเรื่องหนักหนาสาหัสกว่า คือมันจะแรงขึ้นกว่าเดิมอีกเท่าตัว...
อาจารย์ก็มีหน้าที่ให้ข่าวสารว่าโลกกำลังวิกฤต เพราะจิตสำนึกของมนุษย์ต่ำทราม ถ้าใครรู้ว่าเป็นหนึ่งในนั้น รีบแก้ไขจิตสำนึกของตัวเอง รีบเป็นคนดีซะ เพราะคนที่จะรอดพ้นจากตรงนี้ได้ก็คือคนดี คือ 1. ถือศีล 2. ปฏิบัติธรรม รู้จักรักให้เป็น รักให้ได้ 3. ใช้สมองซีกขวานำซีกซ้าย คือใช้ปัญญาญาณให้เป็น อย่าใช้ซ้ายนำขวาเหมือนตั้งแต่เกิดจนถึงป่านนี้ ถามหาตัวตน เช่น เวลามีปัญหาเกิดขึ้นมาในการทำงาน ทุกคนจะถามหาว่า ใครเป็นคนทำ ? แบบนี้แหละคือการใช้สมองซีกซ้าย คือถามหาตัวตน ...เดินไปด้วยกันบนถนน เจอขยะวางอยู่หลายก้อน เราก็เดินอ้อม หรือบางทีเตะขยะไป เราไม่เก็บเอาไปใส่ถังขยะ ที่เราไม่เก็บเพราะเราบอกว่า เราไม่เป็นคนทิ้งนี่...นี่แสดงว่า เราคิดว่าไม่ใช่ของเรา หรือประเทศไทยนี่ไม่ใช่ของเรา หรือบางทีคิดว่าเราไม่ใช่พนักงานเก็บขยะ นี่คือคุณคิดหาตัวตน...
คนเราถ้ามีแต่คนใช้สมองซีกซ้าย มันจะมีแต่ขยะเต็มไปหมด เช่น ขยะวัตถุ เทคโนโลยี ซึ่งสมองซีกซ้ายสร้างขึ้นมาทั้งนั้น แต่คุณเห็นมั้ย สร้างสิ่งหนึ่งแต่ก็ต้องทำลายสิ่งหนึ่งเสมอ แต่คิดอย่างสมองซีกขวาของผมนี้ สร้างอย่างเดียว ยังไม่ได้ทำลายเลย เพราะใช้ขวานำซ้าย ให้โดยไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน พระพุทธเจ้าเรียกว่า ให้ทาน หรือบางทีให้หมดเลย ไม่ใช่แบ่งปัน เขาเรียก เสียสละ
มนุษย์ปัจจุบันนี้ทำไม่ได้หรอก ไม่รู้จักว่าเสียสละคืออะไร มีขอทานมาตั้งเงื่อนไขนั่งข้างถนนและทุพพลภาพด้วย มองเขาด้วยสายตาขยะแขยง แทนที่จะสำนึกว่านั่นละ เขามาช่วยเป็นบททดสอบจิตสำนึกให้เรารู้สึกเกิดการสั่นสะเทือนเป็นจิตเมตตา ถึงแม้ไม่ต้องควักเงินหยอดให้ ก็คิดสงสารเขา ถ้าเป็นสามีเราลูกเรา แล้วมาเป็นแบบนี้ คงแย่แน่ๆ เลยนะ น่าสงสารเขานะ การที่พระพุทธเจ้าบอกว่า อนิจจัง วัฏฏะสังขารา คือปลงอนิจจัง นึกถึงตนเองหรือญาติตนเอง ถ้าไปเจอแบบนี้คงแย่นะ สงสารเขานะ ถ้าคุณไม่รู้จักบริจาคทาน ให้ด้วยความรู้สึกที่ดีก็ได้ เนี่ยพลังบวกเกิดขึ้นแล้ว คุณสอบผ่านนะ แต่บางคนพอเห็นปั๊บ เดินหนีเลย แถมยังเที่ยวไปด่าเขา ดูถูกเหยียดหยามเขา แสดงว่าสอบตก
อำนาจแม่เหล็กโลกเป็นผู้กำกับสติปัญญาของมนุษย์ ทุกวันนี้ ทำไมมนุษย์เราใช้สมองซีกซ้าย คือสมองขยะนำซีกขวา มากกว่าจะใช้ซีกขวานำซีกซ้าย ทั้งนี้ก็เป็นเพราะแกนหมุนของโลกมันเอียงไม่สมดุล และเมื่อเป็นเช่นนี้ เอกภพที่เป็นเปลือกไข่ใบใหญ่ของแมงมุมที่ผมยกตัวอย่างไว้ เขาก็เอียงไปทางซ้าย 0.2 องศา ขณะนี้ซึ่งเรียกว่าไม่สมดุล เพราะมนุษย์เราเหลวไหล ไม่เชื่อพระศาสดาทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าสอนว่า ถ้าเราจะนิพพาน ต้องนิพพานให้ได้เสียตั้งแต่ตอนที่เป็นมนุษย์ คุณสมบัติของผู้ที่จะนิพพานได้ จิตวิญญาณใดก็ตามที่จะนิพพานได้ ต้องมีคุณสมบัติคือ เรียนรู้บทเรียนโลกได้อย่างโจ่งแจ้ง...?
อาจารย์สรุปอีกทีได้ไหมคะว่าสิ่ที่อาจารย์ทำอยู่ทุกวันนี้คืออะไร
?สิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ ผมทำหน้าที่ 2 ด้าน คือ ทฤษฎีไซโคโชว์ คือที่รับจัดฝึกอบรม เพื่อแก้ไขจิตสำนึกที่บกพร่องของมนุษย์ในองค์กรทั้งเอกชน และราชการ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขาดจิตสำนึกของเขา และสร้างทักษะในการมีสำนึกใหม่ที่ถูกต้องด้วยทฤษฎีไซโคโชว์ของผม ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งเป็นทฤษฎีส่วนตัวนะ และทุกวันนี้งานเยอะมาก
ส่วนทางธรรมะก็คือ ผมมีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารความรู้จากจักรวาล ที่ผมเรียกว่าจิตจักรวาล ผมทำหน้าที่โดยบรรยายธรรมะให้คนฟัง โดยที่เรามีชมรมหลักอยู่ชมรมหนึ่งคือ ชมรมจิตจักรวาลศึกษาแห่งโลก มีสมาชิกเยอะแยะทั่วประเทศ และตอนนี้เราก็ไปตั้งชมรมลูกอยู่ที่อีสานคือ ชมรมผู้ประพฤติธรรม เราจะรวบรวมคนทุกศาสนาที่ต้องการ ที่จะเป็นผู้ที่เข้าถึงจิตสำนึกที่ถูกต้อง เหมาะสม และดีงาม ด้วยการนำเอาความรู้และข่าวสารต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้รับการถ่ายทอดมาจากจิตจักรวาล ที่เรียกว่า พระบิดาแห่งจิตวิญญาณ มาบอกกล่าวเล่าแจ้งให้เขาได้คิดและได้สติทางวิญญาณและเอาไปปฏิบัติ
เช่นว่า ผมเปิดเผยว่าโลกเรานี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร และขณะนี้ทำไมภัยธรรมชาติมันรุนแรงเอากับมนุษย์โลกมากขึ้น มนุษย์โลกทำอะไรบกพร่องหรือ เกี่ยวกับมนุษย์มั้ย ตอบว่าเกี่ยวนะ ถ้าคุณจะหยุดวิกฤตโลก จะต้องกอบกู้อิสรภาพทางจิตสำนึกของตัวคุณเองให้ได้ ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะจิตสำนึกของมนุษย์กับจิตสำนึกของโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน เราต้องให้พลังบวกกับโลก ด้วยการที่ทุกคนต้องรักกันเท่านั้น รักให้ได้ รักให้เป็น แต่ทุกวันนี้เราไม่เข้าถึงหน้าที่ตรงนั้นเลย เรามัวแต่เวียนว่ายตายเกิดมาแก้แค้นกับแก้ไขสองอย่างเท่านั้น ซึ่งมันเท่ากับว่าเราบกพร่องต่อหน้าที่ เราใช้เวลาล่วงเลยมาเกือบ 6 หมื่นปี บวกเข้าไปอีก 800 ปีละ เราก็ยังนิพพาน คือ กลับบ้านไม่ได้
เพราะฉะนั้น หน้าที่อาจารย์ก็คือ มาเตือนทุกคนว่าให้มีปณิธานแห่งนิพพาน คือให้รู้ว่าเราหมดหน้าที่ทางโลกแล้ว เราก็ต้องหาทางนำจิตวิญญาณกลับบ้านคือแดนศุญญตาให้ได้เหมือนที่พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จกลับไปด้วยพระองค์เอง เราจะต้องถือศีล ปฏิบัติธรรม และคิดให้เป็น ใช้ปัญญาของเราให้เป็น ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางที่อาจารย์แนะนำหรือศาสนาของคุณแนะนำก็ได้ อย่าใช้ความงมงายในการดำเนินชีวิตและอย่ายึดติดกับทางโลกอย่างเดียว เราเป็นสองมิติ อย่าทำเพื่อกายอย่างเดียว ต้องทำเพื่อจิตวิญญาณของเราด้วย นั่นคือสิ่งสำคัญที่อาจารย์ทำ...
และอาจารย์ก็บอกล่วงหน้าว่า ขณะนี้โลกถูกตัดสินแล้วว่าจะต้องถูกชำระ เพราะให้มนุษย์ด้วยกันค้ำจุนโลกให้สมดุลไม่ได้แล้ว มนุษย์เราเป็นตัวการ ขณะที่จิตวิญญาณเราถูกส่งมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่ค้ำจุนโลก แต่มนุษย์เองกลับทำลายความสมดุลของระบบโลกซะเอง แทนที่เราจะมาค้ำจุน นี่คือโทษหนัก คือไม่เชื่อศาสดาของตัวเอง เอาศาสดามาอ้างอย่างเดียวว่า ฉันเป็นคนมีศาสนา มีศาสดา แต่ไม่เคยเชื่อฟังและเคารพพระศาสดาอย่างแท้จริง เอามาพูดเพื่อเอาดีใส่ตัว เพื่อแอบอ้างกันเท่านั้น นั่นคือความเหลวไหลของมนุษย์ ผมถึงบอกว่าคุณนับถือศาสนาใดก็ได้ แต่อย่างมงาย เอาแก่นแท้ของธรรมะ ของศาสนานั้นมาปฏิบัติให้ได้ เพราะมันมีต้นธรรมต้นเดียวกัน แต่ละพระองค์มาเกิดกันคนละยุคคนละสมัย เราจะไปแบ่งแยกศาสดาว่าเราเอาพระพุทธเจ้า ไม่เอาคริสต์ ไม่เอาอิสลามไม่ได้ เพราะพระศาสดาล้วนเป็นผู้มีเมตตาต่อมนุษย์อย่างเรา ๆ ทั้งนั้น พระองค์อุตส่าห์จุติมาเป็นพระศาสดาเพื่อมาสอนให้พวกเรามีสติทางวิญญาณ ถ้าไม่มีพระองค์มาสอน เราก็ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไร มาสร้างสำนึกให้ แต่นี่ปรากฏว่าเรารักพระพุทธเจ้า แต่เราไปเกลียดศาสนาอื่น หรือเรารักพระเยซูคริสต์แต่เราไปเกลียดพระพุทธเจ้า เราทำอย่างนั้น เรางมงายและเราโง่มาก ๆ มันไม่ถูกต้อง นั่นคือหน้าที่ที่อาจารย์มาสอน สอนว่าเราจะต้องประพฤติ ปฏิบัติตนอย่างไร
อาจารย์สอนแม้กระทั่งที่ว่า เราจะต้องเตรียมตัวผจญกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับโลกอย่างไรบ้าง อาจารย์พูดมาเกือบ 10 ปีแล้ว และก็จะพูดต่อไปเรื่อย ๆ?
ต่อไปนี้โลกเราจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปอีกคะ ถ้าหากมนุษย์ไม่สามารถสร้างความสมดุลบนโลกได้
?...นี่อาจารย์ก็ทำแผนที่ของอาจารย์ขึ้นเอง เป็นแผนที่โลกใหม่ อย่างเช่น สึนามิที่เกิดขึ้นก็เกิดในพื้นที่ที่อาจารย์เทสีแดงไว้ซึ่งนั่นคือเขต อันตราย และที่มันเกิดมันก็อยู่ในโซนสีแดงที่อาจารย์ทำไว้บนแผนที่นี้ มีสีแดงอีกทั้งโลก ตรงไหนบ้าง เอาไว้คอยดูก็แล้วกัน ถ้าสนใจก็คอยติดตามฟัง อาจารย์จะบรรยายธรรมะให้ฟังตามที่ต่าง ๆ แล้วจะก็สอนเรื่องให้คน modify จิตสำนึกของตนเอง?
การปรับปรุงแก้ไขจิตสำนึกตามหลักที่อาจารย์แนะนำนั้นต้องทำอย่างไรคะ
?จริง ๆ แล้วทำไม่ยาก ถ้าเราไม่ดื้อไม่งมงาย อยู่ที่ว่าเราจะเปิดใจของเรามั้ย เราจะหลงตัวเองมั้ย ภาษาชาวบ้านเขาเรียก มี ego มากน้อยแค่ไหน มนุษย์ทุกคนติด ego ความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก เชื่อมั่นในความรู้เดิมของตนเอง เชื่อมั่นในสติปัญญา ภูมิรู้ภูมิธรรมของตัวเอง นี่คือปัญหาของมนุษย์ พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าให้ละวางอัตตาซะ คือละวางการยึดติดทุกสิ่ง เปิดไปเรื่อย ๆ เหมือนต้นไม้ ถึงจะแข็งแรงแล้วก็จริง ฝนตกมาอีกต้นไม้ก็ไม่ปฏิเสธฝน ฉันมีแสงแดดมาทำให้เกิดพลังงานในการสังเคราะห์แสงแล้วเต็มที่แล้ว แต่แดดยังแจ๋อีก มันเกินพอ แต่ฉันโวยวายมั้ย ฉันก็สงบนิ่ง ฉันพร้อมจะรับ ให้มามากฉันก็รับมาก ให้มาน้อยฉันก็รับน้อย แต่มนุษย์ไม่ได้ทำตนเช่นนั้น พอรู้ว่าฉันพอแล้ว ซึ่งจริง ๆ ยังไม่พอหรอก แต่คิดว่าพอแล้ว และแสดงออกให้เห็นว่าฉันพอ มนุษย์ก็เลยกลายเป็นเหมือนต้นไม้ที่ตายซาก เพราะใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นหลักซึ่งไม่ถูกต้อง มันผิดธรรมชาติ
ที่อาจารย์เดินทางไปทั่วประเทศ สอนไซโคโชว์ซึ่งนั่นคืองานอาชีพ แต่ได้แทรกสิ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้ไว้ตลอดเวลาเพื่อสอนให้คนมีสำนึกเป็นบวก พระบิดาอนุญาตให้อาจารย์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แล้วให้ประโยชน์แก่โลกได้ใน ระดับที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงภัยพิบัติที่ร้าย ๆ ที่จะเกิดขึ้นบนโลก คือ สามารถจะลดความรุนแรงลงไปได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
เมื่อปลายปี 44 อาจารย์รู้ว่าสึนามิมันจะเกิด อาจารย์เมตตาเพื่อนมนุษย์ ทนไม่ได้ อาจารย์ก็ไปบอกใบ้คนเขา เพราะสงสารไม่อยากให้เกิด ปรากฏว่าพอไปบอก เหตุการณ์ก็เลื่อน ก็ถือว่าเป็นบททดสอบ ก็มีลูกศิษย์ของอาจารย์หลายคนที่หายไป และไม่เชื่ออาจารย์อีก ว่าอาจารย์เพี้ยน แต่เขาก็เพิ่งกลับมา โทรศัพท์มาและก็มากราบขอโทษอาจารย์ที่ล่วงเกินอาจารย์ เพราะสึนามิมันเกิดเหมือนที่อาจารย์พูดไม่มีผิด...?
บทสัมภาษณ์ดำเนินมาถึงบรรทัดสุดท้ายนี้ หากท่านผู้อ่านยังติดใจสงสัย อยากจะทราบความกระจ่างที่นอกเหนือไปจากบทสัมภาษณ์ตรงนี้ ติดต่อไปสอบถามอาจารย์ปริญญา ตันสกุล หรือ สมัครเป็นสมาชิกชมรมจิตจักรวาล ที่สำนักพิมพ์จิตจักรวาล โทร. 0-2512-3176 ได้ค่ะ

คติสอนใจจากพระโอทธิ์




1.พึงรีบเร่งกระทำความดี
และป้องกันจิตจากความชั่ว
เพราะเมื่อกระทำความดีช้าไป
ใจจะกลับยินดีในความชั่ว 2.    คนที่พูดเท็จเสมอ กับคนที่ทำแล้ว
พูดว่า "ฉันไม่ได้ทำ" ตกนรกเหมือนกัน
มนุษย์สองจำพวกนั้น ตายไปแล้ว
มีกรรมชั่วเหมือนกัน ในโลกหน้า 3.ควรละความโกรธ และมานะ
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว
ย่อมแคล้วคลาดจากความทุกข์ 4.ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน
โดยการก่อทุกข์ให้คนอื่น
ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้สิ้น
ไม่มีทางพ้นเวรไปได้ 5.ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น
หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง
ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ 6.ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว ละได้ด้วยการทำดี
ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น 7.ผู้ที่เคยประมาทในกาลก่อน
แต่ภายหลังไม่ประมาท
เขาย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น 8.ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำบาป ตนก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้ 9.สอนคนอื่นอย่างใด ควรทำตนอย่างนั้น
ฝึกตนเองได้แล้ว จึงควรฝึกคนอื่น
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก 10.ขุนเขาไม่สะเทือนเพราะแรงลมฉันใด
บัณฑิตก็ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาหรือสรรเสริญฉันนั้น 11.กรรมชั่วที่ทำแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด
เหมือนนมที่รีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที
แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทำในภายหลัง
เหมือนไฟไหม้แกลบฉะนั้น 12.ไม่ควรแส่หาความผิดผู้อื่น
หรือธุระที่เขาทำแล้วหรือยังไม่ทำผู้มีปัญญา มักไม่ประมาท เมื่อคนส่วนมากพากันประมาท
และตื่น เมื่อคนส่วนมากพากันหลับอยู่
เขาจึงละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้าแกลบฉะนั้น
ควรตรวจดูเฉพาะสิ่งที่ตนทำหรือยังไม่ทำเท่านั้น 13.ใครมัวคิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาไม่มีทางระงับ 14.ใครไม่คิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาย่อมระงับ 15.แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้
เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร
มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว 16.คนทั่วไปมักนึกไม่ถึงว่า ตนกำลังพินาศ
เพราะวิวาททุ่มเถียงกัน
ส่วนผู้รู้ความจริงเช่นนั้น
ย่อมไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป 17.คนที่กิเลสครอบงำใจ
ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์
ก็หาคู่ควรไม่ 18.ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล
รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์
ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง 19.ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ 20.ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ
มีความคิดเห็นชอบเรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด
ราคะกำหนัดย่อมครอบงำ
ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ.21เรือนที่มุงเรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไม่ได้
ใจที่อบรมเป็นอย่างดี
ราคะไม่มีวันเข้าครอบงำ 22.คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน 23.คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกนี้
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง
คนทำดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน 24.คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดได้ว่า ตนทำแต่กรรมชั่ว
ตายไปเกิดในทุคติ ยิ่งเดือดร้อนหนักขึ้น 25.คนทำดีย่อมสุขใจในโลกนี้
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกหน้า
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดว่าตนได้ทำแต่บุญกุศล ย่อมสุขใจ
ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น 26.คนที่ท่องจำตำราได้มาก
แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทำตามคำสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา27.ถึงจะท่องจำตำราได้น้อย
แต่ประพฤติชอบธรรม
ละราคะ โทสะ และโมหะได้
รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคตความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
28.ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย
ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว29.บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง
ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
จึงยินดีในความไม่ประมาท
อันเป็นแนวทางของพระอริยะ

ความหมายของ อภิปรัชญา


ความหมายของอภิปรัชญา


                อภิปรัชญาเป็นคำแปลของคำว่า Metaphysics ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence)  มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Metaphysics  คือ Ontology  แปลว่า ภววิทยา  ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่  Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง  หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน  คือ  ความมีอยู่ของความแท้จริง  หรือความแท้จริงที่มีอยู่  เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน

                อภิปรัชญาเมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์  อภิปรัชญามาจากคำว่า  อภิหมายถึง ความยิ่งใหญ่ สูงสุด  เหนือสุด  และปรัชญาหมายถึงความรู้อันประเสริฐเมื่อรวมเข้าด้วยกัน อภิปรัชญาจึงหมายถึง  ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรู้เห็นใด ๆ แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล

สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)

                ความหมายของสสารนิยม เป็นคำศัพท์หนึ่งของคำ Materialism อีกศัพท์หนึ่งคือ วัตถุนิยม สสารนิยมบัญญัติขึ้นใช้ในอภิปรัชญา  ส่วนวัตถุนิยมใช้ในจริยศาสตร์ เพื่อมิให้สับสน มีความหมายแตกต่างกันในสาระสำคัญ  เช่น  ที่ใช้ว่า นักศีลธรรมเรืองนาม  บางพวกซึ่งไม่พอใจสภาวการณ์ในปัจจุบันของโลกกล่าวประณามการเข้ามาของ Materialism ว่าเป็นมูลเหตุให้ศีลธรรมเสื่อมตามนัยนี้ Materialism หมายถึง ทัศนะทางจริยศาสตร์คือศาสตร์ที่ถือว่า  ทรัพย์สินเงินทองและอำนาจเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะอำนวยความสุขสูงสุดให้แก่ชีวิตได้ จึงได้มีการบัญญัติคำว่า วัตถุนิยม (ปัจจุบันทางอภิปรัชญาก็ใช้เรียก วัตถุนิยมคำ Materialism ที่ใช้ในอภิปรัชญานั้น  หมายถึงทัศนะที่ว่าสะสารหรือพลังงานเป็นเครื่องกำหนดลักษณะพื้นฐานของสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลาย  แต่สสารเท่านั้นเป็นภาวะที่มีอยู่จริงนอกนั้นไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง  สิ่งที่เรียกว่าจิตหรือประสบการณ์ทางจิตไม่มีอยู่จริง  เป็นเพียงภาวะอนุพันธ์คือ  เกิดจากสสารนั้นเอง  หรือเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตของสสารจึงได้มีการ
บัญญัติว่า  สสารนิยม
                กลุ่มสสารนิยมถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสสารหรือวัตถุ  สสารนิยมนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปรัชญายุคแรกของกรีกที่พยายามค้นหาคำตอบของโลกและสรรพสิ่ง (วัตถุ) ที่ปรากฏอยู่ โดยได้คำตอบแตกต่างกัน  เช่น ธาเลส  ตอบว่าโลกเกิดจากน้ำ  อแนกซีแมนเดอร์  ตอบว่าโลกเกิดจากธาตุ 4 คือ ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ เมื่อธาตุ 4 นี้รวมกันกับสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้นนี่เป็นความคิดเบื้องต้นของกลุ่มสสารนิยม  ลิวคิปปุสและเคโมคลิตุส  ได้เชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสสารนิยมขึ้นอย่างแท้จริงโดยถือว่าวัตถุหรือสสารนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันเองของอะตอมจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน  วัตถุหรือสสารนั้นเมื่อแบ่งแยกออกเป็นส่วนย่อยที่สุดจนไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปอีกได้เรียกว่า  อะตอม  สสารนิยมแบ่งเป็น  กลุ่มย่อย  คือ

                1. อะตอม  (Atomism)  หรือ ปรมาณูนิยมนี้มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงมีแต่สสารเพียงอย่างเดียว มวลสารนี้สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุด  เรียกว่า อะตอม (หรือ ปรมาณู) ซึ่งคำว่าอะตอมที่ใช้ในทางปรัชญานี้หมายถึง  อนุภาคที่เล็กที่สุด  เป็นอนุภาคสุดท้ายที่แยกต่อไปอีกไม่ได้แล้ว  อะตอมนี้เป็นอนุภาคนิรันดร ไม่เกิด ไม่ตายมีมาเอง ไม่มีใครสร้าง และไม่มีใครทำลายได้  หรือแม้ว่าจะทำให้มันแตกออกก็ย่อมไม่ได้ แต่ถึงแม้ว่าอะตอมจะเล็กสักปานใดก็ตาม  ตะตอมก็เป็นมวลสารที่มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักนั้นคือแม้จะมีจำนวนมากมายก็ตาม  อะตอมก็มีปริมาณคงตัว และคุณภาพของอะตอมแต่ละอนุภาคก็คงตัว (ทฤษฎีจึงมีลักษณะเป็นพหุนิยม สสารนิยม) ซึ่งแต่ละอนุภาคอาจแตกต่างกันในเนื้อสาร  มวลสาร  ขนาดรูปร่างและน้ำหนัก

                ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) ได้เอาทฤษฎีปรมาณูของเดโมครีตัส  มาพัฒนาจนถึงกับอธิบายว่าชีวิตคือ  เครื่องจักร จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของลัทธิจักรนิยม (Machanicism)

                ฮ็อบส์ กล่าวว่า ความเป็นจริงมีแต่สสารซึ่งมีพลังประจำตัว  พลังนี้อาจถ่ายทอดจากเทห์หนึ่งไปสู่เทห์อื่นได้ด้วยการประชิด   ปรากฏการณ์ทั้งหลายในเอกภพเกิดจากการเปลี่ยนที่ของเทห์ด้วยอำนาจของพลังที่ถ่ายทอดกันระหว่างเทห์  โดยมีกฎแน่นอนตายตัวตามหลักกลศาสตร์ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ  มีผลก็ต้องมีสาเหตุ  เช่น มีไอน้ำเกิดในอากาศเกินจุดอิ่มตัวมาก ๆ ก็ต้องตกลงมาเป็นฝน  เป็นต้น  เขายังกล่าวว่าชีวิต  คือ  เครื่องจักรกลซับซ้อน  โดยเปลี่ยนให้ดวงตาเหมือนกล้องถ่ายรูป  ปอดเหมือนเครื่องปั้มลม ปากเหมือนโม่บด แขนเหมือนคานงัด  นอกจากนั้นเขายังเปรียบหัวใจเหมือนสปริง   เส้นประสาทเหมือนสปริงจำนวนมาก  กระดูกข้อต่อเหมือนวงจักร  สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายมนุษย์เคลื่อนไหวได้

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) กล่าวว่า สสารมีพลังตัวเองตามกฎปฏิพัฒนาการของเฮเกล  คือจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันเพื่อจะได้หาทางประนีประนอมกัน  แล้วส่วนรวมก็จะก้าวหน้า  เมื่อประนีประนอมกันแล้วจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันต่อไปอีกเพื่อให้ได้ให้ก้าวหน้าต่อไป   มาร์กซ์  กล่าวว่า  มนุษย์ที่ต่อสู้มากจะพัฒนาเร็วกว่ามนุษย์ที่หลีกเลี่ยงการต่อสู้  แต่นั้นเป็นวิธีก้าวหน้าที่ยังฉลาดไม่ถึงขั้น  เมื่อมนุษย์เรียนปรัชญาฉลาดถึงขั้นบรรลุอุตรญาณแล้วก็จะเข้าถึงสัจธรรม  จะเป็นแข้งว่าวิธีที่มนุษย์จะก้าวหน้าได้แนบเนียนที่สุดก็คือ  การต่อสู้การงานเมื่อมนุษย์ เข้าถึงสัจธรรมนี้กันหมดแล้ว  มนุษย์ก็จะไม้ต่อสู้กันระหว่างมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป  และจะไม่มีการแบ่งพวกขัดแย้งกันอีกต่อไป

2. พลังนิยม (Energetism) พลังนิยมมีความเห็นว่าสสารมิได้มีมวลสารดังที่มนุษย์มีประสบการณ์ด้วยประสาทสัมผัส แต่เนื้อแท้เป็นพลังงานซึ่งเมื่อทำปฏิกริยากับประสาทสัมผัสของมนุษย์ทำให้รู้สึกไปว่ามีมวลสารพวกพลังนิยมจึงยืนยันว่าความเป็นจริงเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวที่กระทำการให้เกิดสิ่งต่าง ๆ และเหตุการณ์ทั้งหลายในเอกภาพ  พลังงานดังกล่าวอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นไป ทำให้มีชื่อผิดเพี้ยนกันออกไปได้  นักปรัชญาพลังนิยมที่สมควรกล่าวถึงคือ

                อาร์ทูร์  โชเป็นเฮาเออร์ กล่าวว่าความเป็นจริงแล้วเป็นพลังตาบอดที่ดิ้นรนไปตามธรรมชาติของพลังแสดงออกมาเป็นพลังต่าง ๆ  ในธรรมชาติ  เช่น  พลังแม่เหล็ก  พลังไฟฟ้า  พลังน้ำตก  พลังดึงดูด และสูงขึ้นมาเป็นพลังในพืช  พลังสัญชาตญาณและพลังกิเลสในมนุษย์  มนุษย์เราจึงดิ้นรนที่จะเอาชนะอยู่ตลอดเวลา  พลังในธรรมชาติทุกอย่างเป็นพลังดิ้นรนหรือเจตจำนงที่จะมีชีวิต (the will-to-live) เพราะการดิ้นรนนี้ไม่มีแผนผลจึงอาจะเป็นการก้าวหน้าหรือถอยหลังก็ได้  ความจริงจึงขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่ราบรื่น  แม้ว่าพลังส่วนรวมจะตาบอด  แต่พลังที่แบ่งส่วนมาเป็นมนุษย์แต่ละส่วนนี้มีความสำนึกได้  เพราะเป็นพลังที่เข้มข้นที่สุด  และอาจจะช่วยวางแผนแก้ปัญหาให้แก่พลังส่วนรวมได้  ซึ่งโชเป็นเฮาเออร์ได้กล่าวไว้ในปรัชญาจริยะ

                นิตเช่ (Friedrich Nietzsche) ได้กล่าวแก้ไขความคิดของโชเป็นเฮาเออร์ว่าพลังตาบอดนั้นมีลักษณะเป็นการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด  นั้นก็คือการดิ้นรนเพื่ออำนาจดังนั้นพลังรวมของโชเป็นเฮาเออร์ ควรเรียกใหม่ให้ถูกต้องว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (the will-to-power) จะสังเกตได้ว่าพลังที่แสดงออกในธรรมชาตินั้น บางทีก็ยอมเสี่ยงการมีชีวติเพื่อจะมีอำนาจเหนือหน่วยอื่นยิ่งในหมู่มนุษย์ด้วยแล้ว  ยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น  คนต่อสู้กับคนเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำ  ชาติต่อสู้กับชาติเพื่อความเป็นเจ้าโลก  การต่อสู้ดิ้นรนเช่นนี้จะทำให้มนุษย์พยายามพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นยิ่ง ๆ ขึ้นไป และจะเกิดมนุษย์ที่มีความสามารถเหนือผู้อื่นที่เรียกันทั่ว ๆ ไปว่า  อภิมนุษย์ (Superman) ขึ้นในอนาคต

                ทักซ์ปลังค์ (Max Planck) และนักวิทยาศาาตร์นิวเคลียร์ปัจจุบันบางท่านกล่าวว่ามนุษย์เราสามารถแยกปรมณูออกได้เป็นประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นอันว่ามวลสารทั้งหลายประกอบจากพลังงานทั้งสิ้น  พลังงานเลห่านี้มิได้รวมเป็นเนื้อเดียวแต่เป็นกลุ่มของอนุพลังงานซึ่งแต่ละอนุภาคจะแบ่งออกต่อไปอีกไม่ได้  เรียกว่า (Quantum)   ควันตัมเป็นหน่วยย่อยที่สุดของพลังงาน  ซึ่งเมื่อรวมตัวกันในลักษณะต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดสิ่งทั้งหลายและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเอกภพ  พลังงานในเอกภพมีพลังมากมายเหลือเกินจนไม่มีใครกำหนดได้แต่ที่น่าสังเกตก็คือพลังงานมิใช่คงตัวอยู่อย่างเดิมแต่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพอยู้เสมอ  อาจจะดีหรือเลวลงก็ได้ แ ต่เท่าที่สังเกตเป็นส่วนรวมปรากฏว่าดีขึ้นเรื่อย ๆ
                โดยสรุปจะเห็นได้ว่าลักษณะร่วมของนักปรัชญาพลังนิยม  คือ  สิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีเกณฑ์ตายตัว  อาจจะเกิดขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ของมนุษย์หรือไม่ก็ได้  เช่น  มนุษย์บางคนดิ้นรนเพื่อการมีรชีวิตอยู่รอด แต่ผลอาจจะตายก็ได้

จิตนิยม  (Idealism)
                ความหมายของจิตนิยม  เป็นศัพท์บัญญัติศัพท์หนึ่งของคำ Idealism ที่ใช้ในทางอภิปรัชญา แต่ถ้าใช้ในทางจริยศาสตร์มีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทย อีกศัพท์หนึ่งว่า  อุดมคตินิยมมีคำถามว่า  คำ Idealism คำเดียวทำไมต้องบัญญัติศัพท์ภาษาไทยถึง 2 คำ คำตอบก็คือ  เพราะท่านใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน  ในทางจริยศาสตร์ใช้คำว่า Idealist หมายถึงบุคคลที่มองเห็นเป้าหมายอันสูลส่งของชีวิตและพยายามจะเข้าสู่เป้าหมายอันนั้นให้ได้ในภาษาไทยเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า  นักอุดมคตินิยม แต่ในทางอภิปรัชญา Idealist หมายถึงผู้ศึกษาค้นคว้าว่าอะไรคือความจริง  อะไรคือสภาพมูลฐานของสิ่งทั้งหลายที่สมนัยกันหรือเข้ากันได้ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของมนุษย์ในภาษาไทยเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า นักจิตนิยม
                กลุ่มจิตนิยม  ถือว่าจิตเป็นความแท้จริงสูงสุดเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น  สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น  เช่น  ร่างกายมนุษย์เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวของจิตเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของจิต  เมื่อร่างกายสูญสลายจิตสัมพัทธ์ก็ยังคงอยู่  ซึ่งบางทีอาจกลับคืนสู่แหล่งเดิมของตนคือจิตสัมบูรณ์อันเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง  ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่อธิบายได้ด้วยอาการปรากฏของจิตสัมบูรณ์ทั้งสิ้น  จิตเป็นธรรมที่มีเพียงชื่อหารูปไม่ได้  ผู้มีปัญหาเท่านั้นจึงจะรู้จักจิตได้  จิตนิยมแบ่งออกเป็น  กลุ่ม  คือ

1. จิตนิยมกรีกโบราณ
 พาร์มีนิดิส Parmenides เป็นนักปราชกรีกสมัยโบราณ ได้รับความนับถือย่างมากว่าเป็นผู้ที่มีปัญญาลึกซึ้งและอุปนิสัยสูงส่งดีเลศ  เพลโตได้กล่าวถึงเขาอย่างเคารพนับถือเสมอมา  ทัศนะทางปรัชญาของพาร์มีนิดิสเกิดจากการเฝ้าสังเกตความไม่เที่ยงแท้  หรือความเป็นอนิจจัง  หาสิ่งที่คงสภสพอยู่ตลอดไปท่ามกลางการแปลสภาพของสิ่งทั้งหลาย ด วยเหตุนี้ความคิดเรื่องสัตและอสัตจึงเกิดขึ้น  สิ่งที่เป็นจริงสูงสุดคือสัต (Being) ส่วนอสัตไม่จริงโลกแห่งผัสสะเป็นภาพมายาไม่จริงเป็นอสัต  สัตเท่านั้นที่เป็นจริง
                เพลโต (Plato) จิตนิยมของเพลโตได้รับอิทธิพลจากปรัชญาของพาร์มีนิดีสอย่างมาก  คือ เพลโตได้นำความคิดเรื่องโลกแห่งมโนคติหรือทฤษฎีแบบ (World of Ideas or Theory of Form)   มาจากคำสอนเรื่องสัต (being) ของพาร์มีนิดีส มาพัฒนานั่นเอง
                มนุษย์ในทัศนคติของเพลโต คือ ธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 อย่างคือ กายกับจิต  จิตทำหน้าที่  ภาค คือ ภาคตัณหา ภาคน้ำใจ และภาคปัญญา  ภาคทั้งสามของจิตกล่าโดยสรุปดังนี้
                1. ภาคตัณหา ตัณหา หมายถึง ความต้องการความสุขทางร่างกาย  เช่น  การกินอยู่  หลับนอน คนที่มีจิตภาคนี้เหนือกว่าภาคอื่น ๆ ได้แก่  คนที่ลุ่มหลงอยู่ในโลกีย์สุขทั้งปวง  ตามทัศนคติของเพลโต  เปรียบคนพวกนี้เหนือกว่าภาคอื่น ๆ ได้แก่ คนที่ลุ่มหลงในโลกีย์สุขทั้งปวง  ตามทัศนะของเพลโตเปรียบคนพวกนี้ไม่ต่างกับเดรัจฉาน  หาความสุขทางการผัสสะเหมือนสัตว์ถึงแม้ว่าจะซับซ้อนหรือละเอียดอ่อนกว่าสัตว์ก็ตาม
                2. ภาคน้ำใจ  น้ำใจ  หมายถึง  ความรู้สึกทางใจที่เกิดขึ้นโดยมิได้มีสาเหตุทางวัตถุ  เช่น ความเสียสละ ความรักระเบียบวินัย  ความเมตตาเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์คนที่มีจิตภาคน้ำใจเป็นใหญ่เหือกว่าภาคอื่น ๆ ก็ยังมีความปราถนาในโลกีย์อยู่เพราะเป็นความต้องการทางกายอันเป็นเรือนที่จิตคลองอยู่  แต่คนเหล่านี้มิไดเเป็นกังวลกับเรื่องดังกล่าว  เขาอาจจะยอมตายมากกว่ายอมเสียเกียรติคนเหล่านี้สูงกว่าเดรัจฉาน  เพราะเดรัจฉานทำทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น
                3. ภาคปัญญา ปัญญา หมายถึง  ความมีเหตุผล  จิตภาคนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเหตุผลเป็นส่วนที่เพลโตถือว่าทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์และสิ่งทั้งปวงในโลก  จิตภาคปัญญาทำให้มนุษย์รู้จักความจริงคนที่มีจิตภาคตัณหาอาจยอมทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาความรู้  คนที่มีจิตภาคนี้น้ำใจอาจยอมเสียสละความสุขเพื่อรักษาเกียรติ  แต่คนที่มีจิตภาคปัญญาอาจยอมเสียทั้งความสุขและเกียรติเพื่อความรู้และความจริง

2. จิตนิยมประสบการณ์
                จิตนิยมประสบการณ์หมายถึง หลักปรัชญาของปรัชญาเมธีทั้งหลายเช่น จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) จอห์น ล๊อค (John Lock) เดวิด ฮิวม์ (David Hume) เป็นต้น
                จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) เป็นนักปรัชญาชาวไอริส (Irish) เป็นนักปรัชญากลุ่มประจักษ์นิยม (ประสบการณ์นิยมในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับจอห์น ล๊อค เบริคเลย์ กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้ทางประสาทสัมผัสนั้น  มีอยู่ได้เพราะจิตและแนวความคิดหมายความว่าเราต้องมีแนวความคิดในเกี่ยว ๆ กับสิ่งต่างๆ และแนวความคิดนั้นมีอยู่ในจิตใจเรา  ดังนั้นสิ่งที่แท้จริงคือจิตและความคิด (Mind and Idea) เบริคเลย์  กล่าวว่าสสารหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์รับรู้ทางประสาทสัมผัสเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง  แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงโดยจิต  ในฐานะที่มันถูกรู้หรือรับรู้ด้วยจิต  สสารไม่ได้มีอยู่ได้ด้วยตัวเองแต่มีอยู่เพราะจิต  ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่าความมีอยู่คือการถูกรับรู้ ( To be is to be percieved)  ซึ่งหมายความว่าความมีอยู่ของทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกต้องรับรู้ได้หรือสามารถรับรู้  ถ้าสิ่งใดก็ตามไม่ถูกรับรู้ก็จะกล่าวว่าสิ่งนั้นมีอยู่ไม่ได้  และได้กล่าวต่อไปอีกว่าจิตไม่ใช่สร้างแนวความคิด  แต่แนวความคิดนี้ถูกใส่ไว้ในจิตโดยพระเจ้า คือ พระเจ้าได้สร้างแนวความคิดไว้ในจิตของมนุษย์ทุกคน

3. จิตนิยมเยอรมันสมันใหม่และรูปแบบต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กัน
                จิตนิยมเยอรมัน หมายถึง หลักปรัชญาของนักปรัชญาเมธีทั้งหลาย  เช่น ไลบ์นิชคานต์เฮเกล เป็นต้น
                อิมมานูเอล  คานต์ (Immanuel Kant) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน  แนวปรัชญาของคานต์มีลักษณะประนีประนอมหลักการของกลุ่มเหตุผลนิยมและประจักษ์นิยมโดยกล่าวว่าความรู้บางชนิดเป็นความรู้ที่มีมาก่อน
 เป็นความรู้ที่จริงและจำเป็นที่มุกคนมีเหมือนกันตรงกันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้  ทั้งในอดีตปัจจุบัน และอนาคต  แต่ความรู้บางชนิดเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (Posteriori) ได้แก่ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส  ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นและเป็นปัจจุบัน  จากทัศนะนี้เป็นการยอมรับหลักการของกลุ่มเหตุผลนิยมและกลุ่มประจักษ์นิยมเป็นบางส่วน  และมีการปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่  ตามทัศนะของคานต์ความรู้จึงแบ่งออกเป็น  ประเภท  คือ ความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์  และความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากปัญหาหรือความคิดของมนุษย์ (A Priori Knowledge)

                3.4 ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
                ความหมายของธรรมชาตินิยม เป็นศัพท์บัญญัติหนึ่งของคำว่า Naturalism ธรรมชาตินิยมเป็นปรัชญาที่อยู่กลาง  ระหว่างสสารนิยมและจิตนิยม กล่าวคือสสาระนิยมเชื่อว่าสสารหรือวัถุเท่านั้นเป็นจริงส่วนจิตนิยมเชื่อว่านอกจากสสารแล้วยังมีความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความจริงมากกว่าสสาร สิ่งนั้นคือจิต แต่สำหรับธรรมชาตินิยมทำหน้าที่ประนีประนอม ทัศนะของสสารนิยมและจิตนิยมโดยทัศนะแยบบกลาง ๆ คือบางแง่เห็นด้วยกับสสารนิยม  และบางแง่ก็เห็นด้วยกับจิตนิยม  แต่โดยหลักพื้นฐานแล้วธรรมชาตินิยมมีทัศนะใกล้เคียงกับสสารนิยมมากกว่า
จอห์น ดิวอี้ เป็นนักธรรมชาตินิยมอีกท่านหนึ่ง  ซึ่งถูกจัดไว้ในพวกกลุ่มขวาแม้กระนั้นท่านก็ยังยอมรับมโนภาพของซันตายานาที่ว่าศาสนานั้นเกี่ยวข้องกับค่านิยมทางอุดมคติซันตายานาแบ่งองค์ประกอบทางศาสนาออกเป็นสองอย่างคือ ความรู้สึกทางศีลธรรม  และมโนภาพทางกวีหรือทางบุราณวิทยาที่เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย  อุดทคติจึงเป็นเครื่องนำทางที่สำคัญพระเจ้านั้นเป็นชื่อหนึ่งของอุดมคติทั้งหลาย  ซึ่งเราถือว่าเป็นเอกภาพอย่างหนึ่งดังที่ดิวอี้กล่าวว่าสมมุติว่าคำ  พระเจ้า  หมายถึง จุดหมายทางอุดมคติ ซึ่ง ณ กลาและสถานที่หนึ่งที่บุคคลยอมรับกันว่ามีอำนาจเหนือเจตนา และอารมณ์ของเขา เป็นค่านิยมที่บุคคลเชื่อถืออย่างสูงส่งจึงพึงเห็นว่า
จุดหมายเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นเอกภาพ
สรุป ธรรมชาตินิยม  กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าไม่มีระเบียบเหนือธรรมชาติ  ไม่มีทวิภาค ระหว่างพระเจ้ากับโลก  อย่างไรก็ตามยังมีธรรมชาตินิยมบางลัทธิเข้ากันได้กับหลักคำสอนที่ถือว่าพระเจ้าเป็นอุดมคติอย่างหนึ่ง  อุดมคตินี้อาจมีอิทธิพลเหนือธรรมชาติมนุษย์ผู้ปราถนาแสวงหาความดี

                3.5 ภววิทยา (Ontology)
                                ภววิทยาเป็นสาขาสำคัญของอภิปรัชญาเพราะเป็นศาสตร์ท่าว่าด้วยสิ่งที่แท้จริงอันติมะ ปัญหาที่ภววิทยาพยายามตอบก็คือ  สิ่งที่แท้จริงอันติมะคืออะไร  นักปราชญาได้ใช้วิธีการหลายอย่างต่าง ๆ กันในอันที่จะตอบปัญหาดังกล่าว  วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ได้กลายมาเป็นทฤษฎีของภววิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าวมีที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม  ทวินิยม  และ พหุนิยม

เอกนิยม (Monism)
                เอกนิยม คือ ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงคือปฐมธาตุเพียงอย่างเดียวถ้าถือว่าความแท้จริงเป็นจิตอย่างเดียวเรียกว่าเอกนิยมแบบจิต  ถ้าถือว่าแม้จริงเป็นสสารอย่างเดียวเรียกว่าเอกนิยมแบบสสาร  แต่ถ้าถือว่าความแท้จริงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารเรียกว่า มัชฌิมนิยม
                เอกนิยมแบบจิต  ถือว่า ความแท้จริงปฐมธาตุมีแต่นามธรรม หรือจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งขึ้นอยู่กับความจริงสูงสุด อันได้แก่  ปรัชญาสัต (Philosophy of Being) เป็นปรัชญาของพาร์มีนิดีส (Parmenides) สมัยกรีกโบราณ กลาวว่าความแท้จริงปฐมธาตุคือสัตซึ่งมีภาวะเป็นนิรันด์รวมเอาภาวะต่าง ๆ ไว้ในหน่วยเดียวกันไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น แต่การที่เรามองเห็นกดารเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นมายา คือ ความเข้าใจผิดไป  ส่วนเฮเกล (Hegel) ถือว่าความแท้จริงมีจิตดวงเดียวเรียกว่าสิ่งสัมบูรณ์
(The Absolute)  เป็นต้นกำเนิดจิตทั้งปวง ลักษณะของจิตคือหยุดนิ่งไม่ได้จะต้องมีกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเช่นนั้นจิตจะไม่มีตัวตนจะไม่เรียกว่าจิต การเคลื่อนไหวของจิตเรียกว่าการพัฒนาแบบปฏิพัฒนาการ (Dialectic) แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ จิตเดิมที่บริสุทธิ์ (Thesis) จิตขัดแย้ง ยังแสดงตัวออกเป็นสสาร (Antithesis) และจิตสังเคราะห์  สสารสำนึกตัวเองว่าเป็นจิต (Synthesis)
                เอกนิยมแบบสสารถือว่า ความแท้จริงแบบปฐมธาตุมีแต่สสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีจิตหรือสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้  เช่น  ปรัชญากรีกสมัยแรก ๆ ในปัจจุบันมาร์กได้หปรับปรุงปรัชฐาของเฮเกลให้เป็นสสารนิยมแบบปฏิพัฒนในที่สุดเอกนิยมแบบสสารก็ได้พัฒนามาเป็นธรรมชาตินิยมวิวัฒนาการปัจจุบัน
                มัชฌิมนิยม  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ทฤษฎีสองแง่ ถือว่าความแท้จริงปฐมธาตุมีเพียงหนึ่งเดียว  ไม่ใช่ทั้งจิตและไม่ใช่ทั้งวัตถุ ความแท้จริงหน่วยเดียวคือพระเจ้าแสดงตัวออกมา  2 ลักษณะ คือ จิตกับวัตถุ เราสามารถรู้จักความแท้จริงได้โดยใช้เหตุผลพิสูจน์แบบเรขาคณิตสปิโนซ่าเป็นนักปรัชญาสำคัญในแนวคิดแบบนี้ในทัศนะของสปิโนซ่า  จิตกับกายเป็นสองแง่ความแท้จริงเดียวกัน ซึ่งซ่อนอยู่เบื้องจิตกับวัตถุจึงเป็นสารัตถะเดียวกันที่มองได้หลายด้านเสมือนเงินเหรียญ ๆ หนึ่งมี 2 หน้านั่นเอง สารัตถะอันเดียวนี้เรียกว่า พระเจ้า

ทวินิยม (Dualism)
                ทวินิยม คือ ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงปฐมธาตุมี 2 อย่างคือ จิตกับสสาร  แยกออกเป็น 2 กลุ่ม  คือกลุ่มที่ถือว่าจิตเป็นผู้สร้างสสารเรียกว่า  รังสรรค์นิยม และกลุ่มที่ถือว่า จิตกับสสารมีควบคู่กันมาตั้งแต่ต้น  จิบควบคุมสสารได้โดยรู้กฎองสสารเรียกว่าชีวสสารนิยม
                รังสรรค์นิยมเป็นทวินิยมทางอภิปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงปฐมชาติมี 2 อย่างได้แก่  จิตกับสสาร  จิตเป็นใหญ่กว่าเพราะเป็นผู้สร้างสสารเรียกว่า  พระเจ้าและปล่อยให้สสารดำรงอยู่ด้วยตัวเอง  แต่พระเจ้าผู้สร้างก็มีอำนาจควบคุมและทำลายล้างสสารคือธรรมชาติ  พืช สัตว์ มนุษย์ได้ตามพระประสงค์ได้ตามพระประสงค์  นักปรัชญาคนสำคัญคือ  เซนต์  ออกัสติน  ได้กล่าวว่า พระผู้สร้างเป็นความแท้จริงสูงสุดทรงเป็นนิรันดร  เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์  ตามหลักตรีเอกภพ  พระเจ้าทรงเข้าใจในพระองค์เอง  พระเจ้าผู้ถูกเข้าใจและเมื่อทรงเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดีที่สุดก็ย่อมเกิดความปิติ  ส่วนจิตที่ปนอยู่กับสสารคือจิตมนุษย์ความจริงระดับต่ำสุดคือ สสาร  ซึ่งพระเจ้าสร้างขึ้นให้มีความแท้จริงของตนเอง  และมีพลังวิวัฒนาการอยู่ในตัว
                ชีวสสารนิยม (จิตสสารนิยม) เป็นทวินิยมทางอภิปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงนั้นคือจิตและสสารต่าง ๆ ก็เป็นความจริงที่ไม่ขึ้นต่อกัน  มีอิสระต่อกัน  นักปรัชญาคนสำคัญ  ได้แก่ธาเลส  ซึ่งเชื่อว่าจักรวาลมีกฎเกณฑ์ของตนเอง โดยไม่ได้รับจากจิตหรือเทพใดทั้งสิ้น  เทพสามารถควบคุมหรือบันดาลให้เหตุการณ์ธรรมชาติเป็นไปได้ตามประสงค์ก็เพราะรู้กฎธรรมชาติ  ไม่ใช้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ  หรือเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ธรรมชาติ  ดังที่คนดึกดำบรรพ์เข้าใจกัน  เพราะฉะนั้นทั้งเทพ จิตมนุษย์  และสสารต่าง ๆ ก็เป็นความจริงโดยอิสระของตนเอง
                พหุนิยม
                คือ  ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงมีอยู่หลายหน่วย  ซึ่งอาจจะเป็นจิต  หรือสาร  หรือทั้งจิตและสสารก็ได้  นักปรัชญาพหุนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งที่มีจำนวนมากมายหลายหลากในเอภภพนี้  ไม่อาจจะทอนลงให้เหลือเพียงหนึ่งเดียวหรือสองได้เลย  แต่อย่างน้อยที่สุดปฐมธาติก็ต้องมีสามหน่วยขึ้นไป  เพราะเป็นเอกภพที่มีความสลับซับซ้อนมาก  นักปรัชญาพหุนิยมได้แก่
                เอ็มพีโดคลีส  เป็นนักปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้น  ถือว่าปฐมธาตุของสรรพสิ่งไม่ใช่เพียง 1 หรือ 2 อย่างเท่านั้น แต่มี 4 อย่าง คือ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ  สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะการรวมตัวกันเป็นธาตุทั้ง 4 นี้ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน จึงเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมากมายหลายหลาก  การที่สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ก็เพราะมีการเปลี่ยนแปลง อัตราส่วนของธาตุต่างๆ ในตัวมัน การสูญสิ้นสภาพของสิ่งทั้งหลายก็เพราะเกิดการแยกตัวออกจากกันของปฐมธาตุเหล่านั้น ลักษณะของปฐมธาตุแต่ละอย่างนั้นคงที่เสมอ ไม่เกิดใหม่ ไม่แตกดับเป็นนิรันดร นักพหุนิยมอีกท่านหนึ่งคือ ไลบ์นิซ เป็นนักปรัชญาพหุนิยมฝ่ายจิต เชื่อว่าความแท้จริงมีลักษณะเป็นจิต มีจำนวนมากมาย เรียกว่า ปรมาณูทางจอต ( Monad ) ซึ่งแต่ละหน่วยมีความพอใจตัวเองมีความอิสระ ( พระอมรมุนี , 2515 : 316 )

บทสรุป

          อภิปรัชญาเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกเกิดจากความประหลาดใจ และความสงสัยของมนุษย์สมัยโบราณ ที่มีต่อ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์นี้เองทำให้มนุษย์ต้องสืบหาสาเหตุของความเป็นจริงเหล่านั้นซึ่งคำตอบที่ได้อาจถูกบ้างผิดบ้างจนในที่สุดก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง จากคำตอบที่ถูกต้องนี้แหละคือความรู้ทางอภิปรัชญา แม้จะแยกย่อยเป็นจำนวนมากแต่อยู่ในขอบเขตของสาขาใหญ่ๆ 3 สาขาของอภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม นอกจากอภิปรัชญา 3 สาขาใหญ่แล้ว ยังมีภววิทยาซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของอภิปรัชญา ซึ่งในศาสตร์ของภววิทยานี้ได้แยกออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม ทวินิยม และพหุนิยม อภิปรัชญาถือว่าเป็นหลักของโครงสร้างของวิชาปรัชญา ถ้าขาดอภิปรัชญาเสียแล้ว ปรัชญาก็มีไม่ได้ ดังนั้นในการนำเอาปรัชญาไปประยุกต์ใช้จำเป็นต้องยึดโครงสร้างอภิปรัชญาเป็นหลักสำคัญ
อ้างอิง : รศ.พิมพ์พรรณ  เทพสุเมธานนท์ (และคณะ).ปรัชญาการศึกษา EF703 (603).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.