วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ทุกศาสนา ล้วนเป็นสากล ทุกศาสดาล้วนเป็นหนึ่งเดียว







  1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนเข้าใจและเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระศาสดา แห่งศาสนาที่แต่ละคนนับถืออยู่นั้น โดยไม่เชิญชวนให้ท่านเปลี่ยนศาสนาโดยเด็ดขาด
 2. เราถือว่าศาสนาทุกศาสนาล้วนยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่อยู่แล้ว พวกเราจึงไม่ได้มีความคิดที่จะตั้งศาสนาใหม่หรือลัทธิใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น
 3. เรา เชื่อว่าศาสนาทุกศาสนาล้วนเป็นสากล เพราะพระธรรมคำสอนของพระศาสดาทุกพระองค์ล้วนสอนมนุษย์ให้เป็นคนดี มีความรักต่อกัน สอนให้รู้จักใช้เหตุผล สอนให้ไม่โง่และงมงาย และสอนไม่ให้ก้าวล่วงผู้อื่น (มีศีล) เหมือนกันเลย แต่ที่เราต้องเรียนรู้คำสอนรวมกันทั้งสามศาสนา เพราะพวกเราบางคนนับถือคนละศาสนากัน จึงได้นำเอาพระธรรมของแต่ละศาสดามาเติมเต็ม หรือบูรณาการให้เข้าใจกันลึกซึ้งยิ่งขึ้นนั่นเอง เราจึงจำเป็นต้องใช้คำศัพท์เฉพาะที่พระศาสดาพระองค์นั้นๆ ทรงตรัสไว้ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระศาสดาพระองค์นั้นๆเป็นสำคัญด้วย มิได้มีเจตนาจะเอามาต้มยำทำแกง ตะแบงคำ อย่างที่บางคนร้อนตัวร้อนใจแต่อย่างใด และการที่เราไม่คิดบัญญัติคำใหม่ขึ้นมาแทนคำนั้นๆ ก็เพราะต้องการยืนยันว่า เรามิได้ต้องการสร้างลัทธิใหม่หรือตั้งศาสนาใหม่ หรือต้องการทำลายศาสนาดีๆ ที่มีอยู่อย่างที่บางคนคิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น (เรื่องนี้สมาชิกของเราทุกคน ยืนยันได้ว่าจริงอย่างที่เรากล่าวมาใช่มั้ย?) หากใครจะสร้างลัทธิใหม่ศาสนาใหม่จริงๆแล้วยังดันไปลอกเลียนคำศัพท์คำสอนของ พระศาสดาพระองค์อื่นๆ นั้น แค่คิดก็น่าอายแล้ว และคงไม่มีใครโง่ไปเชื่อตามแน่ๆ เพราะทุกท่านล้วนมีภูมิปัญญาทั้งนั้น
 4. สิ่ง สุดท้ายที่อยากกราบเรียนท่านผู้เจริญทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้ก็คือ พระผู้ทรงเป็นองค์ความรู้ของเรา คือ องค์จิตจักรวาลนั้น พวกเราเรียกพระองค์ท่านว่า พระบิดาแห่งจิตวิญญาณ ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับลัทธิไหนศาสนาใดทั้งสิ้น พระองค์ทรงเป็นเพียงองค์ความรู้ของพวกเรา ที่ช่วยเมตตาสื่อสอนให้พวกเราได้รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ และทรงสอนให้พวกเราได้คิด คิดได้ และคิดเป็น เพื่อทำความเข้าใจในข้อธรรมะของพระศาสดาแต่ละพระองค์ให้กระจ่างมากขึ้นแทน ที่จะงมงาย และยึดติดอยู่กับสัญลักษณ์หรือพิธีกรรม โดยที่พระองค์มิใช่ศาสดาใหม่ของโลกที่จะมาทำลายศาสนาไหนๆ ทั้งสิ้น เพราะพระองค์ทรงเป็นที่สุดแห่งที่สุดอยู่แล้ว
 5. พวกเราทุกคนเชื่อว่า พระศาสดาพระองค์ต่อไปก็คือ พระศาสดาศากยมุณีศรีอริยเมตไตรย์ เท่านั้นครับ
 6. พวกเรายินดีต้อนรับศาสนิกชนคนประพฤติธรรมทุกคน ที่พร้อมจะยกระดับสติปัญญา พัฒนาจิตสำนึกร่วมกัน ไม่ว่าท่านจะรับถือศาสนาใดอยู่ก็ตาม เพื่อจะช่วยกันปฏิบัติตามปริศนาธรรมของพระพุทธองค์ที่ว่า "เมตตาธรรมค้ำจุนโลก เราคือโลก โลกคือเรา" อย่างเป็นรูปธรรมกันจริงๆ เสียที แทนที่จะมีดีแต่ที่ปากเท่านั้น
 7. จง อย่าระแวงพวกเราเลยเพราะจะเกิดทุกข์ใจโดยเปล่าดาย ติดตามพฤติกรรมพวกเราไปเรื่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ท่านจะรู้จักเรามากขึ้น และอาจเป็นอีกคนหนึ่งที่สักวันท่านจะรักพวกเราเหมือนที่เรารักท่านอยู่เช่น กัน

        

จิตสงบ คือ อย่างไร


 
 
 
 
 
 
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
ในสภาวะจิตปกติของท่านที่เรียกว่า #จิตสงบ นั้น
จะมีคุณสมบัติสำคัญดังนี้ คือ

1.จิตจะมีอาการนิ่งเฉย
จะไม่มีการสั่นสะเทือนจนเกิดเป็นอารมณ์รู้สึกใดๆ

2.จิตจะมีอาการนิ่งเฉย
จะไม่มีการสั่นสะเทือนจนเกิดเป็นความอยาก-ไม่อยาก
แต่อย่างใด

3.จิตจะมีอาการนิ่งเฉย
จะไม่มีการสั่นสะเทือนจนเกิดเป็นการนึกโน่นนั่นนี่
แต่อย่างใด

4.อาการนิ่งเฉยของจิตทั้งสามประการนี้
ต้องเกิดจากการ #วางเฉย ต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้า
มิใช่เกิดจากการ #เก็บกดอดกลั้น มันไว้

5.อาการนิ่งเฉยต่อสิ่งเร้าเช่นว่านี้
ต้องเกิดจากการมี #มหาสติ อยู่ทุกขณะจิตเท่านั้น
ซึ่งการมีมหาสติก็คือ #การควบคุมจิตให้อยู่กับตนเอง

เหมือนดั่ง...
การเก็บมือไว้กับตนเอง

เหมือนดั่ง...
การเก็บตาหูจมูกลิ้นและปากไว้กับตนเอง

หากท่านรู้จักเก็บมันไว้ดีๆให้อยู่กับตัวท่าน
กลไกทั้งหลายเหล่านี้ก็จะหมดโอกาส
ที่จะไปก้าวก่ายล่วงเกินใครอื่นให้ผิดบาป

นอกจากนั้นท่านยังจะสามารถใช้มัน
เพื่อ #เรียนรู้ ในสิ่งต่างๆและเรื่องราวทั้งหลาย
ที่ท่านได้สัมผัสรู้ดูเห็นมันในระหว่างวัน
ซึ่งท่านพิจารณาแล้วว่ามันสมควรต้องเรียนรู้
โดยให้เหตุผลกับตนเองได้ว่า
สิ่งนั้นเรื่องนั้น #สมควรเรียนรู้และใส่ใจ กันหรือเปล่า

เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
จงครองมหาสติเอาไว้เสมอ
แล้วท่านทั้งหลายจะ #ไม่จิตตก
อีกทั้งยังจะสามารถ #ฉลาดที่จะเลือกเรียนรู้
ในสิ่งที่ท่านปรารถนาจะเรียนรู้และควรเรียนรู้
อย่างมีเหตุผลว่าอะไรควรเรียนรู้อะไรไม่ควร

#การเรียนรู้สิ่งที่มาเร้าให้อยากรู้
#กับการอยากรู้เพราะตกเป็นทาสของสิ่งเร้านั้น
มันไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
22-1-2017

เก็บเกี่ยว


 
 
 
 
 
*มีรวงข้าว พราวไสว ในทุ่งกว้าง
ทุกรวงต่าง รอเคียว ไปเกี่ยวเก็บ
แต่คน-เคียว นั้นมี เท่าขี้เล็บ
ยากจะเก็บ เกี่ยวทัน วันน้ำมา

นี่ลูกแกะ มากมาย หายจากฝูง
ต้องลากจูง แกะหลง ถึงพงป่า
ต้องแบกขน แกะป่วย ช่วยนำพา
จนไหล่ล้า ขาเปลี้ย เพราะเสียแรง

ต้องจรจัด คัดปลา ตามหน้าที่
ปลาตัวดี คัดไว้ ไม่หน่ายแหนง
ปลาเหลวไหล ไม่ดี ป้ายสีแดง
เพื่อชี้แบ่ง คัดทิ้ง ยิ่งร้าวราน

โลกมนุษย์ สุดวิกฤต เพราะจิตป่วย
"เรา" มาช่วย คัดปลา ถึงหน้าบ้าน
อดตาหลับ ขับตานอน มาเนิ่นนาน
เผชิญมาร หลากหลาย แทบวายชนม์

เอเมน สาธุ
กราบพระบาทพระบิดา

ป.วิสุทธิปัญญา
22-1-2017

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา






มีคำกล่าวอยู่ 3 คำที่ผู้รับเอาแนวทาง
แห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
พึงต้องสดับรับรู้เอาไว้ว่า
พระองค์ทรงหมายไว้อย่างไร.....

นั่นคือ คำว่า....
อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

1.อนิจจัง
.............
หมายถึง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ในทุกสรรพสิ่งด้านมิติโลกทางกายภาพ
เพราะเป็นมายาจากการไม่เที่ยงของแก่นแท้

เช่น จิตที่เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์รู้สึกนึกคิด
จะยังผลให้พฤติกรรมภายนอกของผู้นั้น
ผันแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะของจิตนั้น

นี่จึงเป็นที่มาของประโยคเด็ดที่ว่า
"จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

2.ทุกขัง
............
หมายถึง
สิ่งที่ท่านเมื่อได้พบพานผ่านเผชิญในชีวิต
แล้วทนได้ยาก......

3.อนิจจัง ทุกขัง
.......................
หมายถึง
ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
หรือความผันแปรเปลี่ยนไปใดๆ
ในมิติโลกทางกายภาพในชีวิตของท่าน
ล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น
หากทุกข์หมายถึง "ทนได้ยาก"

เช่น การเกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นต้น

4.อนัตตา
..............
หมายถึง
ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
หรือความผันแปรเปลี่ยนไปใดๆ
ในมิติทางพลังงานด้านของแก่นแท้
อันเป็นคุณสมบัติหลักของจิตวิญญาณ
ผู้เป็นตัวตนแก่นแท้นั้น
ที่จะต้องมีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา

เพราะจักต้องสร้างแสดง
อัตตาตัวตนและรูปลักษณ์
อันเป็นมายาแห่งตนไว้

เพื่อแสดงว่ามีตนอยู่
ตนดำรงอยู่
ตนเปลี่ยนแปลงอยู่

5.ทั้งจิตมนุษย์และจิตวิญญาณเป็นอนัตตา
...........................................................
เนื่องจากจิตหยาบ
เป็นตัวแทนของจิตวิญญาณ
และทั้งจิตหยาบและจิตวิญญาณ
ต่างล้วนมีคุณสมบัติเป็น "อนัตตา"
คือ ไม่หยุดนิ่ง
โดยจะต้องสั่นสะเทือนตนเองอยู่ตลอดเวลา

ขณะที่จิตหยาบจะกำหนดการสั่นสะเทือน
ทางอารมณ์รู้สึกนึกคิดได้ด้วยตนเอง
โดยจะเปลี่ยนผันแปรไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่ง
เปลี่ยนไปตามสิ่งเร้าผ่านอายตนะทั้งหกนั่นแหละ

ขณะที่จิตวิญญาณแก่นแท้
ก็จะสั่นสะเทือนไปตามคุณสมบัติเดิมแท้ของตน
อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้าผ่านกลไกอายตนะใดๆ
ตนมีคุณสมบัติอย่างไรก็จะมีหน้าที่
สั่นสะเทือนไปตามนั้น

6.จิตมนุษย์ต้องยกระดับการสั่นสะเทือนสู่แก่นแท้
......................................................................
หมายถึง
หน้าที่ของจิตหยาบนั้น
จักต้องยกระดับการสั่นสะเทือนในตนเอง
ให้สูงขึ้นจนเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิตวิญญาณ
เพื่อรับเอาคุณสมบัติทางจิตวิญญาณ
มาใช้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์แห่งกรรมตนเอง
ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้จงได้

การจะยกระดับการสั่นสะเทือนตนเอง
ให้สูงขึ้นทางด้านบวกของจิตหยาบนี้
คือการรักได้ ให้เป็น ไม่ก้าวล่วงใคร
เมื่อมีเงื่อนไขดีหรือร้ายที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้
เป็นบททดสอบผ่านกลไกอายตนะ
ให้ได้เผชิญกันในชีวิตประจำวันนั่นเอง

7.อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
..................................
หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงของจิตหยาบ
อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกายภาพ
เป็นการแสดงออกและกระทำใดๆทั้งดีและร้ายนั้น
หากไม่มีมหาสติแล้วจะนำความทุกข์มาให้เสมอ

ทุกข์อันเกิดจากความไม่สงบแห่งจิตตน
ทุกข์อันเกิดจากความไม่สงบแห่งกายตน
ทุกข์อันเกิดจากความไม่สงบสุขของคนอื่น

ทุกข์อันเกิดจากความไม่สงบ
แห่งจิตวิญญาณตนเองและจิตวิญญาณของคนอื่นๆ
ที่ต้องได้รับผลจากการสั่นสะเทือน
ของจิตหยาบและการกระทำใดๆของท่านเอง เป็นต้น

ที่เรากล่าวมานี้....
คงจะพอทำความเข้าใจกันได้เป็นสังเขปนะ

เอเมน...สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
21-1-2017