วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ชะตาชีวิต กับ ชะตากรรม

Question:
บททดสอบกับพันธะกรรมที่ต้องชดใช้
มีข้อสังเกตอย่างไร?
Answer:
Khunพัฒน์ธัญญ์ ชาตวัฒนานนท์
1.คำกล่าวที่ว่า "บททดสอบ" นั้นแท้แล้ว
คำเต็มคือ "บททดสอบจิตสำนึกด้านบวก" นั่นเอง
2.บททดสอบจิตสำนึก คือ เหตุการณ์ สถานการณ์
หรือเรื่องราวต่างๆ ที่คนรอบข้างท่านคนใดคนหนึ่ง
หยิบยื่นมาให้ในชีวิตประจำวัน
โดยสิ่งที่พวกเขาหยิบยื่นมาให้ท่านนั้น
จะเป็น "เงื่อนไข" กระตุ้นหรือปลุกเร้าให้
เกิดการสั่นสะเทือนของจิตและปัญญา
เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขนั้นๆให้ถูกต้อง
3.เงื่อนไขที่คนรอบข้างของท่านหยิบยื่นมาให้
เพื่อทดสอบจิตปัญญาดังว่านี้
จะมีทั้งเงื่อนไขด้านบวกที่ท่านพึงพอใจ
และเงื่อนไขด้านลบที่ท่านไม่พึงประสงค์
ทั้งนี้หน้าที่ของท่านก็คือ
จะต้องสั่นสะเทือนจิตปัญญาตอบสนอง
ที่เป็นด้านบวกเท่านั้น...นั่นคือ
ต้องรักให้ได้ แม้เขาจะทำตัวไม่น่ารักต่อท่าน
ต้องให้อภัยเขาให้ได้ แม้ว่าเขาจะทำตัวไม่น่าให้อภัย
ต้องใช้สติปัญญาของสมองแทนให้ได้
แม้ว่าเขาจะพยายามยั่วยุอารมณ์ท่านก็ตาม
4.ถ้าท่านจะสามารถปฏิบัติตนเช่นว่านี้ได้นั้น
ท่านจะต้องฝึกตนเองให้มี "มหาสติ" เอาไว้เสมอ
เพราะมหาสติเป็นธรรมชาติสมาธิ
ที่จะช่วยให้ท่านตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา
คือรู้เท่าทันอารมณ์รู้สึกนึกคิดของตนเอง
และรู้เท่าทันการยั่วยุของคนรอบข้าง
ซึ่งมันจะช่วยให้ท่านมีอำนาจเหนือนำจิต
อีกทั้งมีพลังอำนาจในการคิดด้วยปัญญาของสมอง
อย่างเต็มประสิทธิภาพและมากด้วยคุณภาพเสมอ
5.การที่มนุษย์จะต้องมีบททดสอบก็เพราะว่า
การอยู่คนเดียวตามลำพังนั้นจะไม่สามารถยกระดับ
แรงสั่นสะเทือนจิตสำนึกให้สูงขึ้นทางด้านบวกได้
พระบิดาจึงทรงยินยอมให้มนุษย์แต่ละคน
ผลัดกันหยิบยื่นบททดสอบให้แก่กันและกัน
ทั้งบทดีบทร้ายตลอดเวลาไปจนตลอดชีวิต
คนรอบข้างที่สำคัญในการยื่นบททดสอบให้กัน
ก็คือพ่อแม่ลูกสามีภรรยาวงศาคณาญาติ
เพราะร่วมกันเขียนบทละครชีวิตกันไว้
ตั้งแต่ภพชาติแรก
เมื่อได้รับโอกาสให้มาเกิดเป็นมนุษย์
ซึ่งเราเรียกบททดสอบลักษณะนี้ว่า "ชะตาชีวิต"
6.ส่วนกรณีที่มนุษย์แต่ละคน
จะต้องเผชิญกับสถานการณ์บางอย่างที่ตนไม่ชอบใจ
จากการแสดงออกหรือกระทำของคนอื่นๆ
ที่มิใช่วงศาคณาญาติหรือคนในครอบครัวนั้น
โดยภาพรวมแล้วก็เป็นบททดสอบจิตสำนึกเหมือนกัน
แต่จะต่างกันกับชะตาชีวิตก็ตรงที่ว่า...
การกระทำไม่ถูกต้องต่อกันและกันนี้
มักเป็นไปตามแรงแห่งกรรมอันเกิดจาก
การกระทำผิดบาปต่อกันในอดีตชาติมากกว่า
ทั้งนี้ก็เพื่อให้โอกาสย้อนกลับมาตัดสินใจใหม่
ในสถานการณ์แบบเดิมๆที่เคยผิดพลาดไว้ให้ถูกต้อง
ซึ่งกรรมประเภทนี้เราเรียกว่า "บุรพกรรม"
7.คำว่า "บุรพกรรม" นั้น หมายถึง ความผิดบาป
อันเกิดจากการสั่นสะเทือนจิตสำนึกด้านลบ
ที่พวกท่านกระทำผิดบาปต่อจิตวิญญาณตนเอง
เพราะรักคนที่ไม่น่ารักไม่ได้
ให้อภัยคนที่ทำตนไม่น่าให้อภัยก็ไม่ได้
ด้วยเหตุนี้เองในภพชาติใหม่เช่นภพชาติปัจจุบัน
ท่านจึงต้องเกิดมาแล้วเผชิญกับสถานการณ์เดิมๆอีก
เสมือนนักเรียนที่สอบตกซ้ำชั้นนั่นแหละ
โดยที่สถานการณ์เหล่านี้จะถูกเรียกว่า
"บททดสอบจิตสำนึก" เช่นเดียวกัน
8.นอกจากนั้นสำหรับมนุษย์แต่ละคน
ที่ยังไม่สามารถข้ามพ้น
การยึดติดตัวตนอัตตาและหลงมายาได้
เมื่อมีผู้ใดกระทำไม่ถูกต้องต่อตนเองเข้า
ก็จะเกิดอาการโกรธเกลียดเคียดแค้น
อาฆาตพยาบาทจองล้างจองผลาญเสมอ
ดังนั้น...
ถ้าท่านเผลอไผลสอบตกในบททดสอบ
ที่คนพวกนี้หยิบยื่นเงื่อนไขด้านลบมาให้
ด้วยการกระทำไม่ดีงามต่อตัวท่าน
แล้วตัวท่านก็ตอบสนองตัวเขา
ด้วยการกระทำด้านลบ
โดยรักไม่ได้ ให้ไม่เป็น
อีกทั้งยังใช้อารมณ์กระทำตอบต่อตัวเขา
แทนการใช้ปัญญาแล้ว
การเกี่ยวกรรมกันหรือก่อกรรมสัมพันธ์ก็จะเกิดขึ้น
เพราะผู้ที่ถูกท่านกระทำตอบด้านลบรุนแรง
ก็จะเกิดอาการโกรธเกลียดแค้นท่านรุนแรงเช่นกัน
กรรมประเภทนี้เราเรียกว่า "พันธะกรรม"
หรือ คนทั่วไปมักเรียกว่า "ชะตากรรม" นั่นเอง
9.เราจึงขอกล่าวต่อท่านทั้งหลายว่า
ไม่ว่ากรรมที่ท่านเผชิญจะเป็นรูปแบบใด
มันต่างล้วนเป็นบททดสอบ "จิตสำนึก" ทั้งสิ้น
ท่านมีหน้าที่จะต้องสอบผ่านมันไปให้ได้
ลักษณะกรรมที่ท่านว่า "ต้องชดใช้" นั้น
เป็นเพียงการสลับบทบาทกัน
โดยผู้ที่เคยถูกท่านกระทำ
เปลี่ยนมาถือบทบาทเป็นผู้กระทำต่อตัวท่านบ้าง
เพื่อชำระแค้นของเขาให้จิตสมดุลดังเดิม
สำหรับท่านก็จะได้รับบทเรียนชีวิตที่ถูกต้อง
เพื่อการดำเนินชีวิตให้สมบทบาทต่อไปด้วย
เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
20-11-2015