วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

หยิบปัญญามานิพพาน



เรากล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายมานานแล้วว่า
ให้หยิบ "ปัญญา" มานิพพานในทุกสิ่ง

เพื่อรักษาคุณสมบัติดี
ในความมีจิตใสใจสวยเอาไว้
ตราบกระทั่งวินาทีสุดท้ายแห่งการสิ้นลมหายใจ

เพื่อละวางเครื่องยนต์แห่งกรรมของท่าน
สู่การเป็นอิสระทางจิตวิญญาณ
ในสภาวะแห่งการหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง
ตามวิถีจิตจักรวาล
บนเส้นทางสายอริยมรรคของนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง

แต่วิธีการหยิบปัญญาในตนเองมาใช้นั้น
ท่านทั้งหลายจักต้องรู้วิธี
ทั้งยังต้องมีการฝึกฝนจนเชี่ยวชาญอีกด้วย

สมองมีสองซีก
ให้ความฉลาดได้สองระดับ
ท่านจักต้องจับฉวยมาใช้ให้ถูกต้อง
สอดคล้องกับคุณสมบัติของมันด้วย

1.หากท่านปรารถนาที่จะเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ทำไม...อย่างไร....?

ท่านต้องฝึกควบคุมอารมณ์ไม่สมดุลของตนเอง
ท่านต้องฝึกการเป็นคนช่างสังเกต
ท่านต้องฝึกการเป็นคนมีเหตุผล
ท่านต้องฝึกการใช้เหตุผลเป็น
ท่านต้องฝึกตั้งคำถามตนเองให้เป็น
ท่านก็ต้องฝึกการมองโลกไปตามความเป็นจริง

นี่คือการฝึกใช้สมองซีกซ้ายนำซีกขวา
ที่เรียกว่า "สติปัญญา" นั่นเอง

2.หากท่านปรารถนาที่จะนำธรรมะ
จากพระบิดาที่ทรงสื่อผ่านมาทางเรา
หรือจะนำเอาธรรมะ
จากธรรมชาติแวดล้อมรายรอบตัวท่าน
มาใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต

ท่านก็ต้องฝึกการใช้จินตนาการ
ท่านก็ต้องฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์
ท่านก็ต้องฝึกนิสัยการมองโลกด้านบวก
ท่านก็ต้องฝึกการคิดเชื่อมโยง

นี่คือการฝึกใช้ "ปัญญาญาณ"
จากสมองซีกขวานำซีกซ้ายนั่นเอง

3.การนั่งหลับตาปฏิบัติเท็คนิกสมาธิเป็นอาชีพ
จะไม่สามารถเข้าถึงพลังอำนาจสูงสุดทางปัญญา
เพื่อการหลุดพ้นไปเสียจากทุกสิ่ง
ตามวิถีจิตจักรวาลที่ว่านี้ได้

ไม่ฟัง ไม่รู้
ไม่คิดตาม ไม่เข้าใจ
ไม่ปฏิบัติ ย่อมไม่ได้
ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีวันถึงมรรคผลนั้น

เอเมน....สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
11-04-2015

แก้ววิเศษ 2ดวง - เส้นทางของการหลุดพ้น



ถ้าท่านพร้อมที่จะเป็นนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง
เพราะไม่พร้อมที่จะออกบวช-ปลีกวิเวก
ท่านก็สามารถยกระดับจิตตปัญญา
เพื่อนำพาแก่นแท้ของท่านสู่การหลุดพ้นได้
ด้วยการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมตามปกติ
เพียงแต่ท่านจักต้องถือครอง 2 สิ่งนี้ไว้ให้มั่นคง
ในทุกขณะจิตในยามตื่น
จงอย่าได้ผิดพลาดบกพร่อง
จิตวิญญาณของท่าน
ก็สามารถเข้าถึงแดนสุญตาได้เช่นกัน
เอเมน....สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
10-04-2015

ประโยขน์ ของการครองศีล




ถ้าการครองศีล หมายถึง
การครองตนไว้อย่างมั่นคง
โดยมิให้เกิดการก้าวล่วงต่อผู้ใด
ทั้งด้วยกาย วาจา และจิตใจ
จนเป็นเงื่อนไขด้านลบของผู้อื่น
แล้วยังผลให้ผู้อื่นเสียสมดุลทางจิตใจ

ศีล จึงย่อมหมายถึงการทำให้สิ้นไป
ซึ่งเงื่อนไขที่กล่าวนั้น

สำหรับฆราวาสหรือชาวบ้าน
ศีลที่พึงถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
จึงมีเพียงข้อเดียวเท่านั้น....
นั่นคือ "การไม่ก้าวล่วง" ใคร

เอเมน...สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
10-04-2015