วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความเชื่อ ความคิด ความรุ้สึก





ยุวจิตจักรวาลทายาทท่านหนึ่งกล่าวต่อเราว่า
เธอได้ยินได้ฟังคำสอนของกูรูท่านหนึ่งมา
เมื่อได้ฟังแล้วเธอพบว่าคำสอนบางท่อน
ไม่แน่ใจว่าเป็นคำกล่าวสอนที่ถูกต้องหรือไม่
จึงได้นำคำกล่าวนั้นมาถามเรา

ประโยคที่เธอนำมาถามเรามีความว่าดั่งนี้

"ความเชื่อ ทำให้เกิดความคิด
ความคิด ทำให้เกิดความรู้สึก
ความรู้สึก ทำให้เกิดพฤติกรรม"

พี่น้องที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

1.ไม่ว่ากูรู หรือ "กูรู้" ท่านใดจะเป็นผู้กล่าวสอน
ความในเครื่องหมายคำพูดทั้งหมดนั้น
มันเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
มันมิใช่ความจริงที่จริงแท้
มันมิใช่สัจธรรม
มันเป็นคำกล่าวคำสอนที่เชื่อถือไม่ได้

2.เรื่องของ "ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิด"
มันเป็นศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ทางจิตเบื้องต้น
ซึ่งมีผลเป็น "วิทยาศาสตร์พฤติกรรม" ต่อเนื่อง
ทั้งเป็นเรื่องของ Meta-physics(อภิปริชญาบริสุทธิ์)
ที่มนุษย์จะใช้วิธีคาดเดาเอาเอง สรุปเอาเอง
ดั่งการคิดแบบจิตมนุษย์ไม่ได้

3.เราจะกล่าวแย้งให้รู้ว่า
ประโยคที่กูรูคนนั้นกล่าวให้เธอได้ยินว่า
"ความเชื่อ ทำให้เกิดความคิด"
มันเป็นการกล่าวผิดอย่างมหันต์
มันเป็น "อวิชชา"
เธอจงอย่าเชื่อตามเช่นนั้นเด็ดขาด
เธอจะเข้าข่าย "งมงาย" ไปทันทีที่เชื่อตาม

ความจริงที่จริงแท้ก็คือ
#ความเชื่อมันจะทำให้เธอปิดกั้นการใช้ปัญญา

ถ้าเธอเชื่อใครคนนั้น
เธอก็จะยอมตามอย่างว่าง่าย
ถ้าเธอไม่เชื่อใครคนนั้น
เธอก็จะปฏิเสธทันที

ถ้าเธอเชื่อถือในคำพูดของใคร
เธอก็จะคล้อยตามโดยไม่ระแวงสงสัย

เมื่อความจริงมันเป็นดั่งนี้แล้ว
เธอก็จะพบว่า "ความเชื่อ" นั้น
มันมีแต่จะนำความโง่งมมาสู่ตนเองเสียมากกว่า
เพราะเมื่อเชื่อในตัวตนคนที่พูดเสียแล้ว
การระแวงสงสัยย่อมไม่มี
หรือเมื่อเชื่อในสิ่งที่เขาพูดเสียแล้ว
ข้อสงสัยใดๆก็ย่อมไม่มี

เมื่อไม่มีข้อสงสัย
ไม่มีจิตใจหวาดระแวงแล้ว
เธอจะเอาอะไรมา "กระตุกต่อมคิด" ของเธอได้

นี่ไง...ที่เราเคยกล่าวไว้ว่า
ความเชื่อคือ "ความหลง" ชนิดหนึ่ง
เพราะความเชื่อทำให้คนดีๆกลายเป็นคนโง่ได้
เพราะความเชื่อมันทำให้คนคล้อยตาม
มิได้กระตุ้นให้เธอ "คิด"

เราจึงกล่าวไว้เสมอมาว่า
การฝึกอบรมด้วยกระบวนการ "#ไซโคโชว์"
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์
โดยอาจารย์ปริญญา ตันสกุล นั้น

จะเน้นการสั่นสะเทือนที่ #จิตสามนึก
ด้วยการ #สร้างกระบวนการกระตุ้นที่จิต
#และติดอาวุธทางปัญญาที่สมอง
ให้แก่ผู้เข้าอบรมทุกคน
ซึ่งเป็นกลยุทธการเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์
ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก

4.เราจะกล่าวแย้งเป็นเรื่องที่สองให้รู้ว่า
ประโยคที่กูรูผู้นั้นกล่าวให้เธอได้ยินอีกว่า
"ความคิด ทำให้เกิดความรู้สึก" นั้น
มันเป็นการกล่าวผิดอย่างมหันต์
มันเป็น "อวิชชา" อีกเช่นเดียวกัน

เพราะความรู้สึกมันเป็นกิเลส
มันเกิดทันทีที่จิตรับรู้ผัสสะ
มาจากอายตนะภายนอกทั้งห้า
ซึ่งเราเรียกว่า "รับรู้แล้วรับเอา" นั่นแหละ

จิตมันทำงานของมันเอง สมองไม่เกี่ยว
พอกิเลสเกิดขึ้นมาตัณหาคือความอยาก
มันก็จะเกิดขึ้นตามมาทันทีเช่นกัน
ชนิดที่ห้ามไม่ทันกดดันมันไว้ก็ยากยิ่ง

พอเธอเกิดความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ
ความอยากกับความไม่อยากก็เกิดขึ้นตามมา
เมื่อเกิดอยากหรือไม่อยากแล้ว
จิตมันก็จะนึกเองทันทีว่า
จะต้องสนองความอยากไม่อยากนั้นให้ได้
พอนึกได้แล้วสมองก็จะคิดไปตามที่นึกว่า
จะตอบสนองความอยากไม่อยากอย่างไร
นี่ไง...กระบวนการของจิตที่ถูกต้อง
มิใช่ "ความคิด" ทำให้พวกเธอเกิดความรู้สึก
ตามที่ "กูรู" คนนั้นกล่าวเลยสักนิด

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำตอบว่า
ทำไมการชำระจิตให้ว่างจากกิเลสตัณหาทำยาก
ก็เพราะ "กูรู" แกเข้าใจผิด รู้ผิดอย่างนี้เอง
อีกทั้งเพราะกิเลสเกิดง่ายและดับยาก
ถ้าจะดับมันได้ต้องใช้ปัญญา
ของสมองสองซีกให้เป็นเท่านั้น

คนที่ใช้ปัญญาของสมองได้และใช้เป็น
นี่แหละจึงจะได้ชื่อว่าเป็น "พุทธะ" ของแท้

5.ส่วนที่กล่าวว่าความรู้สึก
ก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้น
เป็นการกล่าวแบบรวบรัดเกินไป

แท้แล้วความรู้สึก
ก่อให้เกิดความอยากไม่อยาก

ความอยากไม่อยาก
ก่อให้เกิดการนึกของจิต
ซึ่งประกอบด้วย 3 นึก คือ
นึกได้ นึกเอา และนึกเอง
รวมเรียกว่า #จิตสามนึก หรือจิตสำนึกนั่นแหละ

เมื่อเกิดจิตสามนึกแล้ว
มันจะนำไปสู่การแสดงออกหรือกระทำพฤติกรรม
ไปตามการสั่นสะเทือนของจิตที่นึกนั้นเสมอ

6.ถ้าไม่รู้ว่ากระบวนการทางจิตเป็นเช่นไร
ถ้าไม่รู้ว่าจิตสามนึก คือ อะไร
ไม่รู้ว่าจิตสามนึกขับเคลื่อนพฤติกรรมอย่างไร
ถ้าจะสอนพฤติกรรมใครเห็นทีจะไร้ผล

เพราะวิทยาศาสตร์ทางจิตเป็นศาสตร์ชั้นสูง
เป็นความรู้ที่ละเอียดอ่อนละเมียดละมัย
ต้องใช้ปัญญาญาณแทนสติปัญญาเท่านั้น
เธอจึงจะเข้าใจและเข้าถึงได้
ซึ่งเราได้พยายามช่วยเหลือท่านทั้งหลาย
ให้เข้าถึงกันได้ง่ายๆตลอดมา

เพราะเรื่องของจิต เรื่องของปัญญา
เรื่องของจิตสำนึก
เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์
มันไม่ง่ายอย่างที่คิด
มนุษย์โลกจึงจำต้องมีพระศาสดา

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
22-02-2017