วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

"เท็คนิกสมาธิ" กับ "ธรรมชาติสมาธิ"




เราขอกล่าวต่อท่านทั้งหลายว่า
ถ้าประดานักรบแห่งแสงสว่างเขามีศาสตร์และศิลป์
ในการพัฒนาจิตตปัญญา ด้วยวิธีเท็คนิกสมาธิ
ผ่านปฏิบัติการสมถะกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐาน
ซึ่งเราขอเรียกว่า "เท็คนิกสมาธิ"
อย่างจริงจังตั้งใจและเป็นอาชีวะแล้ว

ประดาชาวบ้านเช่นท่านทั้งหลาย
ผู้เลือกเดินสู่การหลุดพ้นบนเส้นทางของนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง
ก็มีศาสตร์และศิลป์เพื่อการยกระดับจิตตปัญญา
ในอันที่จะพัฒนาจิตสำนึกของท่านในชีวิตประจำวันด้วย
ซึ่งเราจะขอเรียกวิธีการนี้ว่า "ธรรมชาติสมาธิ"
โดยธรรมชาติสมาธิ ก็คือ "มหาสติ" นั่นเอง

มหาสติ คือ สติอันยิ่งใหญ่
หากใครสามารถครองได้
ก็จะเข้าถึงอำนาจสูงสุดของจิตและปัญญาของตนได้
ในทุกมิติเลยทีเดียว ซึ่งชาวบ้านทั้งหลาย
ชายหญิงทุกคนก็สามารถเรียนรู้ที่จะฝึกฝนตนเอง
ในการครองมหาสติ หรือ ปฏิบัติธรรมชาติสมาธินี้ได้ทุกเมื่อ

มหาสติ ประกอบด้วยสติ 3 ประการ คือ

1.รู้สติ:
โดยรู้ว่า ปัจจุบันขณะทำอะไรอยู่
โดยรู้ว่า เมื่อครู่เพิ่งทำอะไรมา
โดยรู้ว่า ต่อไปข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นกับตนบ้าง

2.มีสติ:
โดยรู้ว่า สิ่งใดควรรับรู้แล้วควรรับเอา
โดยรู้ว่า สิ่งใดควรรับรู้แต่ไม่ควรรับเอา
โดยรู้ว่า สิ่งใดไม่ควรรับรู้และไม่ควรรับเอา

3.ใช้สติ:
โดยเรียนรู้ที่จะฉลาดแสดงออกหรือกระทำตอบต่อผู้อื่น
ด้วยกฎแห่ง 6 ถูก ของ "ปริญญา/Parinya Model" คือ
การคิดก่อนพูด และคิดก่อนทำภายใต้เงื่อนไขสำคัญ
รวม 6 อย่าง กล่าวคือ

3.1 ถูกคนหรือไม่
3.2 ถูกวิธีหรือไม่
3.3 ถูกที่หรือไม่
3.4 ถูกเวลาหรือไม่
3.5 ถูกต้องหรือไม่
3.6 ถูกใจหรือไม่

ถ้าผิดในข้อใดแม้เพียงข้อเดียว
ท่านก็จะต้องไม่แสดงออกหรือไม่กระทำโดยเด็ดขาด
หากถูกทั้ง 6 ข้อ ก็จัดว่าปลอดภัย 100%

ถ้าท่านทั้งหลายฝึกฝนตนเองในการครองมหาสติ
ในชีวิตประจำวันกันให้ได้
ท่านจะสามารถเป็นคนพ้นกรรม คือ อยู่เหนือกรรมได้
เพราะไม่ก่อกรรมใหม่-แก้ไขกรรมเก่าได้อย่างสิ้นเชิง
มรรคผลสูงสุดบนเส้นทางสายวิมุติคือการหลุดพ้น
ภายในภพชาตินี้ คือ รางวัลอันยิ่งใหญ่ของท่าน
ที่จะหยิบยื่นให้แก่นแท้ของตนเอง
กับเพื่อนพ้องน้องพี่ซึ่งเป็นมนุษย์แห่งโลกเสรีได้
โดยจะมิใช่เป็นแค่เรื่องเพ้อฝันกันอีกต่อไป

ป.วิสุทธิปัญญา
17-09-2014

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น