วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดแต่เหตุ




ตอบคำถาม:
************
K. Bhaktichamnan Chamnanbhakti 

เรียนถามท่านอาจารย์
ด้วยความเคารพอย่างสูง

#Questions:

1.การที่คนทำความดีแต่กลับเจอผลร้าย 
2.การที่ความดีต่อกรกับความชั่ว
ยากลำบากเหลือเกิน 

3.การที่ความดีต้องรักษากติกา
แต่ความชั่วกลับไม่ต้อง 

4.และคดีความต่างๆ
ที่คนดีไม่ได้รับความยุติธรรม
คนชั่วกลับยิ้มแย้มได้ 

ดั่งนี้ พระเจ้าประสงค์ให้เรา
ได้เรียนรู้เรื่องอะไรครับ

ขอบพระคุณอย่างสูง

Answer 1:
***********
การทำความดีงามแต่ได้รับผลร้าย
ตอบแทนการทำความดีงามนั้น
สาเหตุหลักๆมักเป็นเพราะว่า....

ท่านมิได้ทำความดีงามอย่างรอบคอบ
เพราะมิได้ยึด "ปริญญาโมเดล 6 ถูก"เลย
จึงยังผลให้การสร้างความดีงามนั้น
กลายเป็นสร้างปัญหาให้ตนเองแทน

#ปริญญาโมเดล 6 ถูก หมายถึง
ถูกคน ถูกวิธี ถูกที่ ถูกเวลา 
ถูกต้อง และ ถูกใจ

ถ้าท่านจะทำอะไรกับใครๆก็ตา
มันจะต้องถูกครบทั้งหกถูกเท่านั้น
ความดีนั้นจึงเกิดประสิทธิผลเป็นกรรมดี
แต่ถ้ามันผิดในข้อใดข้อหนึ่งแล้ว
ท่านจงอย่าทำความดีงามนั้นเด็ดขาด
เพราะท่านจะได้รับผลกรรมชั่วแทน

เป็นต้นว่า
ท่านเห็นผัวเมียข้างบ้านทะเลาะกัน
ด้วยความหวังดีจึงเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ย
เคลียร์ปัญหาตีหน้าเป็นกรรมการให้
ท่านก็เตรียมรับผลกรรมด้านลบได้เลย
ไม่ผัวก็เมียจะมองว่าท่าน #เผือก!แน่นอน
แทนที่จะเป็นบุญกลับก่อบาปกรรมแทน
เหตุเพราะขาดศาสตร์และศิลป์
ในการกอร์ปกรรมดีนี่เอง

ดังนั้น
การช่วยผิดคน
การช่วยคนผิดวิธี
การช่วยคนผิดกาลเทศะ
การช่วยเหลือแบบเข้าข้างคนผิด
การช่วยคนที่เขาไม่อยากให้ท่านช่วย

นี่เป็นการทำความดีงามแต่ได้รับผลร้ายแน่ๆ

Answer 2:
***********
การทำความดีต่อกรกับความชั่
ยากลำบากเหลือเกิน 
มักจะเป็นเพราะสาเหตุว่า

จิตวิญญาณของท่านถือรหัสมาดั่งนี้

1.อาจเคยก่อกรรมทำไม่ดีกับเขาไว้
ชาตินี้จึงต้องเป็นฝ่ายรับกรรมเช่นนั้นบ้าง
จักได้เกิดความสมดุลกัน

2.จิตวิญญาณของท่าน
ปรารถนาที่จะเรียนรู้ความจริงให้ได้ว่า
#การกระทำความชั่วต่อผู้อื่นนั้นทำง่ายมาก
#แต่การทำความดีงามต่อผู้อื่นนั้นทำยากกว่า
เพื่อให้ท่านมีศรัทธาต่อการเป็น #คนดี
อย่างมีเหตุผลแท้จริงและไม่ทำดีแบบงมงาย

3.จิตวิญญาณของท่าน
ต้องการยกระดับจิตตปัญญา
พัฒนามหาสติและหวังให้ท่าน
สำแดงปณิธานแห่งนิพพานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จึงให้ท่านได้ต่อกรกับคนชั่
ประเภท #ชั่วชาติ หรือ #ชาติชั่ว
ซึ่งเป็นคนชั่วที่ไม่ธรรมดา

คนชั่วที่ไม่ธรรมดา
ซึ่ง #จิตใต้สำนึก เป็นผู้เหนี่ยวรั้งเข้ามาให
จะเป็นคนประเภท "ฉลาดในทางชั่ว"
ประเภทหาตัวจับยากนั่นแหละ
เพราะหากคู่ต่อกรของท่านมันฉลาดมาก
มันจะทำให้ท่านต้องยกระดับตนเอง
ให้ฉลาดเท่าเทียมหรือฉลาดกว่าคนชั่วนั้นๆ
มิใช่ดอกหรือ....

Answer 3:
***********
การที่ความดีต้องรักษากติกา
แต่ความชั่วกลับไม่ต้อง

มันเป็นเพราะเหตุว่า....

คุณสมบัติของความชั่ว
คือความไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม 
ไม่ดีงาม มิใช่ดอกหรือ

ชั่วชีวิตนี้ท่านเคยพบเจอคนชั่วคนไหน
ยึดถือความถูกต้องเหมาะสมดีงามบ้าง
ไม่มีเลยใช่หรือไม่ล่ะ

ถ้าเขายึดถือความถูกต้องเหมาะสมดีงาม
ในการกระทำทุกสิ่งในชีวิตของเขา
เขาจะถูกจัดว่าเป็น #คนชั่ว ได้อย่างไร
เพราะเขาก็จะเป็นคนดีเหมือนท่านทันที

ดังนั้น
การที่ท่านกล่าวต่อพระบิดาว่า
ทำไมทำความดีต้องรักษากติกา
แต่ความชั่วกลับไม่ต้องนั้นมันเป็นสัจธรรม
ชั่วกับดีจะให้มันเหมือนกันได้อย่างไร

Answer 4:
***********
คดีความต่างๆ
คนดีไม่ได้รับความยุติธรรม
แต่คนชั่วกลับยิ้มแย้มได้ 

มันเป็นเพราะเหตุว่า

คดีความที่ท่านเผชิญดังกล่า
เกิดจากความอาฆาตผูกจิตพยาบาทกัน
สืบทอดกันมาจากภพชาติอดีต
โดยต่างฝ่ายต่างผลัดกันแพ้ชนะคดี
ด้วยการแสวงหาวิธีทุจริตกฎหมาย
เพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งมาโดยตลอด
โดยไม่มีใครยอมลดราวาศอกให้ใคร

ฝ่ายผู้รักษากฎหมายที่เคยกินอามิส
ก็กลายมาเป็นบริวารฝ่ายที่คดโกงเขามา
มาเป็นพยาน มาเป็นทนาย มาเป็นตำรวจ
มาเป็นพนักงานอัยการ
จนแม้กระทั่งมาเป็นผู้ตัดสินความเองก็มี
เพื่อช่วยให้ฝ่ายที่แค้นเพราะถูกรังแก
ได้มีโอกาสเป็นฝ่ายชนะบ้าง
ชนะโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม

มาภพชาตินี้ท่านเห็นฝ่ายหนึ่งถูกรังแก
ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ท่านจึงเสียความรู้สึกไป
เราจึงขอบอกความจริงต่อท่านว่า
แท้แล้วน่ะมันพอกันทั้งคู่แหละ

จงอย่ามองโลกมองเพื่อนมนุษย
แค่เพียงภพชาตินี้เท่านั้น
ท่านจักต้องมองย้อนไปในอดีตด้วย
เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดแต่เหตุ
เมื่อเหตุดับทุกสิ่งอย่างก็จะดับตาม

ชาตินี้ถ้าฝ่ายถูกเอาเปรียบ
ไม่ยอมรับ ไม่ให้อภัยหรืออโหสิ
ชาติหน้าถ้ามีพวกเขาก็ยังจะต้อง
ผลัดกันแก้แค้นให้แพ้ให้ชนะเช่นนี้เรื่อยไป

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
6-08-2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น