วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พฤติกรรม จิตสามนึก




พี่ๆน้องๆที่รักทั้งหลาย
เราขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
การแสดงออกหรือกระทำพฤติกรรมใดๆนั้น
สำหรับมนุษย์โลกทั้งหลายแล้ว
ขับเคลื่อนออกมาจาก #จิตสามนึก ทั้งนั้น
ถ้าเป็นพฤติกรรมด้านดี
ก็จะขับเคลื่อนออกมาจาก
#จิตสามนึกที่รู้สำนึก
ถ้าเป็นพฤติกรรมด้านที่ไม่ดี
ก็จะขับเคลื่อนออกมาจาก
#จิตสามนึกที่ไร้สำนึก
สำหรับ "จิตสามนึก" นั้น
ประกอบด้วยจิตที่มีหน้าที่ #นึก อยู่ 3 ดวง คือ
1.ดวงจิตที่ทำหน้าที่ "นึกออก"
เมื่อนึกออกได้ก็แสดงว่า #จำได้ แล้ว
นิสัยธรรมดาของมนุษย์ส่วนใหญ่
ล้วนเป็นคนที่มักจะ "นึกออก"
หรือจดจำได้แต่เรื่องร้ายๆทั้งนั้น
2.ดวงจิตที่ทำหน้าที่ "นึกเอา"
เมื่อมีการนึกเอาอะไรใหม่ๆขึ้นมาได้แล้ว
ก็จะเรียกมันว่า "ความคิดสร้างสรรค์"
แต่ถ้าสิ่งที่นึกเอาได้แล้วนั้น
เป็นความก้าวร้าว ก้าวล่วง ทำลาย
แม้จะเป็นสิ่งใหม่ก็จัดว่าไม่สร้างสรรค์
ถือเป็นการ #นึกลบ ทันที
3.ดวงจิตดวงที่สามของมนุษย์นี้
ทำหน้าที่ "นึกเอง" อย่างเดียว
โดยการนึกเองนั้นในที่นี้
หมายถึง #การนึกคิดแทนคนอื่น
คำว่า "นึกแทน" คนอื่นนั้น
หมายถึง การนึกเดาเอาเองว่าคนอื่นๆ
จักต้องมีอารมณ์รู้สึกนึกคิดอย่างนั้นอย่างนี้
แล้วปักใจเชื่อไปตามที่ตนเดานั้นว่าใช่แน่
โดยไม่มีเหตุผลหรือข้อเท็จจริงใดรองรับ
ถ้าการนึกเอาเองที่ว่านี้
เป็นการนึกคิดแทนคนที่ตนไม่รักไม่ศรัทธา
เป็นการนึกคิดแทนคนที่ตนกำลังระแวงอยู่
ก็มักจะนึกไปเองว่าเขา
ต้องมีอารมณ์รู้สึกนึกคิดเป็นลบต่อตนเองเสมอ
คนประเภทวิตกจริต
คนประเภทขี้ระแวง
เป็นคนจำพวก "นึกเอง" ทั้งสิ้น
ด้วยจิตทั้งสามนึก หรือ "จิตสามนึก" นี่แหละ
ที่เป็นบ่อเกิดการแสดงออกหรือกระทำใดๆ
ของมนุษย์แต่ละคนในชีวิตประจำวัน
ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี
ด้วยจิตทั้งสามนึกนี่แหละ
ที่สั่นสะเทือนขึ้นมาเมื่อใดก็ตาม
มันจะเป็น #มโนกรรม ของผู้นั้นทันที
ท่านทั้งหลายจึงต้องรู้ไว้ด้วยว่า
การนึกคิดไปว่าคนอื่นๆ
ต้องคิดลบต่อตนเองแน่นอน
ทั้งๆที่ความจริงมิได้เป็นอย่างที่ท่านเดา
จนเป็นเหตุให้จิตท่านเสียสมดุลไป
นั่นเท่ากับว่าท่านได้ก่อกรรมทำผิดบาป
ด้วยการก้าวล่วงเขาไปแล้ว
เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
28-08-2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น