วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

มหาสติ บทบาทนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง





พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
กิเลส ตัณหา และราคะจริต เป็นจิตฝ่ายต่ำ
ที่ทุกท่านจักต้องผ่านมันไปให้ได้
ถ้าผ่านมันไปไม่ได้สภาวะจิตของท่านก็จะไม่ก้าวหน้า
ที่ไม่ก้าวหน้าก็เพราะว่าจิตของท่าน
จะสั่นสะเทือนอยู่แต่ความถี่ในย่านนี้เท่านั้น
คือ โลภะ โทสะ โมหะ
วันๆเหมือนท่านเดินขึ้นเดินลงบันไดอยู่แค่ 3 ขั้น
ทั้งๆที่ยังมีบันไดเหลืออยู่อีกตั้งหลายขั้น
กว่าท่านจะพาตนเองขึ้นไปจนถึงขั้นสูงสุดได้
บันไดขั้นที่สูงกว่าสามขั้นนี้หมายถึง
แรงสั่นสะเทือนสูงสุดทางด้านบวก
ที่จิตยังยกระดับการสั่นสะเทือนต่อไปได้อีก
ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ในย่านของ "ความรัก" ล้วนๆ
คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ท่านจะไม่สามารถยกระดับสภาวะจิต
ให้สูงขึ้นไปทางด้านบวกในย่านความรักนี้ได้เลย
ถ้าท่านยังมัวขึ้นๆลงๆบันไดแค่สามขั้น
เป็น โลภ โกรธ หลง-งมงาย อยู่แถวๆนี้
ถ้าท่านจะผ่านมันไปได้
ก็ต้องใช้มหาสติควบคุมจิตตนเองไว้
แล้วสั่นสะเทือนเป็น "รักเพื่อให้" แทน
ในทุกๆคนทุกๆกรณีที่ท่านต้องตอบสนอง
ที่ท่านต้องมีสัมพันธ์ด้วย
ถ้าจะรักเพื่อให้ใครๆก็ได้แม้เขาไม่น่ารัก
ท่านก็จักต้องมองเห็นคุณค่าของคนผู้นั้นก่อน
ซึ่งท่านจะมองเห็นคุณค่าของคนอื่นได้
มิใช่เพียงแค่ใช้สองตาเนื้อจ้องมองเท่านั้น
แต่ท่านต้องมองเห็นคุณค่าด้วยปัญญาต่างหาก
ท่านจงอย่าปล่อยให้จิตใจมันเป็นอิสระ
เพราะมันจะสั่นสะเทือนไปตามเงื่อนไขปลุกเร้าเสมอ
ถ้าชอบจิตก็จะสั่นตอบสนองเป็นบวก
ถ้าไม่ชอบจิตก็จะสั่นตอบสนองเป็นลบ
ท่านจึงปล่อยให้จิตใจของท่านอิสระไม่ได้
ท่านจักต้องคุมจิตตนเองเอาไว้เสมอ
เพราะจิตมันเหมือนลิงที่มีนิสัยซุกซนอยู่ไม่สุข
ท่านจึงต้องหยิบ "#มหาสติ" ขึ้นมาถือครองไว้
โดยสติแรกที่ต้องนำมาใช้ปกครองจิต
เพื่อให้รู้เท่าทันอาการของจิตก็คือ #การรู้สติ
ซึ่งหมายถึงการรู้เท่าทันว่าในขณะนั้น
จิตสั่นสะเทือนเป็นอารมณ์รู้สึกนึกคิดแบบใดอยู่
รู้เท่าทันว่าเพราะเมื่อครู่นี้ท่านเผชิญกับสิ่งใดมา
ทั้งท่านยังจะต้องรู้ว่าต่อไปข้างหน้ามันจะเป็นยังไง
ถ้าท่านจะสั่นสะเทือนทางจิตใจตอบสนอง
ในแบบที่ท่านกำลังจะกระทำนั้น
เมื่อท่านรู้เท่าทันจิตตนเองแล้ว
ท่านยังต้องหยิบสติที่สองขึ้นมาใช้ต่อไปอีก
สติที่สองที่ว่านี้ก็คือ #มีสติ"
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการ "รับรู้" อย่างฉลาด
หมายความว่า "รับรู้เพื่อเรียนรู้" ว่าอะไรเป็นอะไร
เป็นการรับรู้แล้วต้องนำมาขบคิดพิจารณา
มิใช่รับรู้แล้วรับเอามาเป็นเงื่อนไขทางจิต
การรับรู้เพื่อเรียนรู้มี 3 ลักษณะ คือ
1.#รับรู้แล้วรับเอา เพราะเห็นว่ามีสาระประโยชน์
2.#รับรู้แล้วไม่รับเอา เพราะเห็นว่าไร้สาระ
3.#ไม่รับรู้ไม่รับเอา เพราะมันเป็นสิ่งที่รู้ๆกันอยู่แล้ว
ท่านทั้งหลายจักต้องรู้ว่า
ถ้าท่านสัมผัสรู้ดูเห็นสิ่งใดแล้ว
ไม่นึก ไม่คิด ไม่เรียนรู้ให้ได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
กิเลสตัณหาและราคะจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง
มันก็จะเบียดแทรกเข้ามาทันที
สิ่งใดรู้แล้วเช่นเพื่อนคนนี้สันดานขี้ขโมย
เมื่อเจอพฤติกรรมลักขโมยของเขาเข้า
ก็ให้ท่านจงวางเฉยเสีย
อย่าตกอกตกใจหวั่นไหวเสียความรู้สึก
เพราะท่านรู้มาก่อนแล้วว่าเขาเป็นคนแบบนั้น
เมื่อท่านรู้มาก่อนแล้วหรือ "รู้ๆอยู่แล้ว"
จิตจึงต้องไม่ตกตาม
มันคือการรับรู้แล้วไม่รับเอานั่นเอง
ถ้าหากทุกๆวันท่านทำอย่างนี้ได้ทุกครั้ง
จิตของท่านก็จะเกิดการคุ้นชิน
จนกลายเป็น "วางเฉย" ได้เลยแม้ถูกยั่วยุ
ซึ่งอาการวางเฉยของจิตนี่แหละ
เรียกว่า #จิตเป็นอุเบกขา เพราะไม่รับรู้ไม่รับเอา
นี่จึงเป็นกระบวนการเอาชนะกิเลส
ซึ่งเป็นจิตฝ่ายต่ำหรือจิตหยาบด้วย #มหาสติ
ตามมรรควิถีแห่งจิตจักรวาล
ในบทบาทนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง
เพื่อการพัฒนาจิตตปัญญาสู่ด้านบวกสูงสุด
จนบรรลุมรรคผลสูงสุดทางจิตวิญญาณ
คือการหลุดพ้นหรือนิพพานนั่นเอง
เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
25-4-2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น