วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีแทรกแซงกระบวนการของ ขันธ์ 5






เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายอีกว่า
กระบวนการของขันธ์ 5 นั้น
เป็นกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต
ที่ตัวท่านเองสามารถเข้าไปแทรกแซงได้
เพราะกระบวนการที่ถูกติดตั้งไว้ในระบบอัตโนมัติ
ซึ่งท่านใช้มันมาตั้งแต่เป็นกุมารน้อยนั้น
ยังเป็นกระบวนการที่ไม่สมดุล
เพื่อเว้นไว้ให้ท่านทั้งหลาย
ได้เป็นผู้ทำให้มัน "สมดุล" โดยแท้
ถ้าจะทำให้กระบวนการของขันธ์ 5 สมดุล
มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น คือ "การแทรกแซง"
การแทรกแซงทำได้วิธีเดียวเท่านั้น
คือการใช้จิตตปัญญาในตนเอง
ที่เป็น "ความรัก" กับ "ความฉลาด"
โดยความฉลาดนั้นต้องกระทำผ่าน "มหาสติ"
ซึ่งเป็นธรรมชาติสมาธิสำหรับฆราวาส
ที่ไม่ต้องนั่งหลับตาคอยตามดูจิตตนเอง
ด้วยการปลีกวิเวกอยู่คนเดียว
เพียงแต่ให้ท่านรู้เท่าทัน
อารมณ์รู้สึกนึกคิดตนเองอยู่ตลอดเวลา
ขณะที่ท่านมีการปฏิสัมพันธ์อยู่กับคนรอบข้าง
เพื่อการแสดงออกหรือกระทำ
ส่วนความรักที่ได้นั้น
ท่านก็ต้องกระทำผ่าน "ปณิธานแห่งนิพพาน"
ในการดำรงชีวิตประจำวันอยู่ในสังคม
ด้วยการเรียนรู้ด้วยปัญญา
ที่จะรักคนไม่น่ารักให้ได้
ให้อภัยคนที่ไม่น่าให้อภัยให้เป็น
ไม่ก้าวล่วงใครในทุกลมหายใจเข้าออก
ถ้าท่านทำได้ในทุกเงื่อนไขสถานการณ์
ที่คนอื่นๆหยิบยื่นให้ในชีวิตประจำวันแล้ว
กระบวนการของขันธ์ 5
อันเป็นสภาวะธรรมในระดับปรมัตถธรรม
จะเป็นกระบวนการที่สมดุลทันที
นี่จึงเป็นวิธี "ธรรมชาติ" ในการเข้าถึง
กระบวนการของขันธ์ 5 อย่างแท้จริง
มันเป็นวิธีการง่ายๆที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งเหมาะสมยิ่งกว่า "การเดินถ่างขา" แบบเก่าๆ
เพราะขาดความรู้ความเข้าใจอย่างสิ้นเชิง
เรื่องราวลี้ลับของขันธ์ 5
ที่หลายท่านสับสน สงสัย ตลอดมา
บัดนี้เราได้กล่าวความจริงทั้งหมด
เป็นบทเป็นตอนติดต่อกันมา
ต่อท่านทั้งหลายแล้ว
หากใครต้องการเรียนรู้ว่า
การรักได้ให้อภัยเป็น
ไม่นึกคิดหรือกระทำก้าวล่วงใคร
ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตประจำวัน
จนเป็นคุณสมบัติของตนเองได้แล้ว
มันสามารถ "แทรกแซง"
กระบวนการของขันธ์ 5 ที่ไม่สมดุลอยู่
ให้คืนสู่ความสมดุลได้อย่างไร
โปรดติดตามตอนต่อไป
ในอีกสักครู่....
เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
7-1-2016

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น