วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ธรรมวิถีแห่งจิตจักรวาล: "กฎแห่งกรรม"




ธรรมวิถีแห่งจิตจักรวาล:

เราจะกล่าวความจริงเรื่อง "กฎแห่งกรรม"
ต่อท่านทั้งหลายว่า

1.กฎแห่งกรรม หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการกระทำใดๆของท่านทั้งหลาย
อันเกิดจากการสั่นสะเทือนทางจิตใจ
เป็นอารมณ์รู้สึกนึกคิดของจิต
และการสั่นสะเทือนทางอวัยวะร่างกาย
เป็นกายกรรมหรือวจีกรรม

2.กรรมที่เป็นการสั่นสะเทือนทางจิตใจของท่าน
มันจะก่อให้เกิดผลกรรมในรูปของคลื่นพลังงาน
ที่มีคุณสมบัติของกรรมนั้นๆกำกับเอาไว้ด้วย

ถ้าเป็นการสั่นสะเทือนด้านบวก เช่น รัก หรือ เมตตา
ก็จะเกิดผลกรรมในรูปของคลื่นความถี่ทางพลังงาน
ที่มีคุณสมบัติของกรรมนั้นกำกับไว้
และมีศักยภาพทางไฟฟ้าเป็นบวกด้วย

ถ้าเป็นการสั่นสะเทือนด้านลบ เช่น โกรธ หรือ โลภ
ก็จะเกิดผลกรรมในรูปของพลังงาน
ที่มีคุณสมบัติกรรมนั้นกำกับไว้
และมีศักยภาพทางไฟฟ้าเป็นลบด้วย

3.คุณสมบัติของกรรมทั้งด้านบวกและลบ
ซึ่งบันทึกไว้เป็นคุณสมบัติของพลังงานกรรมนี้
หมายถึง รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว
เหตุการณ์ สถานการณ์ อารมณ์รู้สึกนึกคิด
และการกระทำใดๆของท่านที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ซึ่งอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ เรื่องราว สถานการณ์ ฯลฯ
ที่ท่านเผชิญกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั่นเอง

ส่วนกรรมด้านบวกและลบในมิติทางกายภาพ
หมายถึง พฤติกรรมที่ท่านแสดงออกมาภายนอก
เพื่อกระทำต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆในชีวิตประจำวัน
จนเกิดเป็นเงื่อนไขด้านบวกบ้าง ด้านลบบ้าง
แล้วยังผลให้มนุษย์ที่ถูกท่านกระทำนั้น
เกิดอาการสั่นสะเทือนทางจิตใจด้านบวกหรือลบ
จนกระทำตอบสนองต่อท่าน
ทางด้านบวกบ้างลบบ้างคืนกลับมา

4.เมื่อใดก็ตามที่ท่านมีการสั่นสะเทือนทางจิตใจขึ้นมา
มันก็จะก่อให้เกิดคลื่นความถี่ของพลังงานกรรม
แผ่กระจายออกมาจากจิตในกายท่านอย่างต่อเนื่อง
โดยมีลักษณะเป็นระลอกคลื่นแบบวงกลม (ดังภาพ)
ในมิติที่สองตาเปล่าของท่านมองไม่เห็น

ระลอกคลื่นพลังงานกรรมจากจิตของท่าน
มันจะทะยอยกันกระจายตัวออกตามๆกันไป
โดยอาศัยสนามพลังงานแม่เหล็กโลก
กับสนามพลังงานของจักรวาลเป็นสื่อกลาง

คลื่นพลังงานกรรมของท่านทุกระลอก
ที่เดินทางออกไปจากจิตของท่านในลักษณะวงกลมนั้น
จะมีปลายทางอยู่ที่ "สุดขอบเอกภพ"
เมื่อมันเคลื่อนไปจนถึงสุดขอบเอกภพได้แล้ว
การวกกลับของคลื่นแต่ระลอกก็จะเกิดขึ้น

ระลอกคลื่นพลังงานกรรมที่วกกลับดังกล่าวนี้
ก็จะพากันทะยอยเดินทางกลับคืนมาหาท่าน
ผู้ผลิตสร้างมันขึ้นมาหรือเป็นเจ้าของมันเสมอ

เมื่อผลกรรมดังกล่าวนี้เดินทางมาถึงตัวท่าน
จิตวิญญาณของท่านโดยพี่พลียะเดี้ยนส์
ก็จะสั่นสะเทือนตนเองเพื่อรับเอาผลกรรมนั้น
มาเป็นบททดสอบและบทเรียนของท่าน
ในการดำเนินชีวิตประจำวันกันต่อไป
ซึ่งพวกท่านรู้จักกันในนามของ "ชะตากรรม" นั่นเอง

5.เนื่องจากเอกภพเป็นสนามพลังงานขนาดใหญ่มาก
โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ
9,999 ยกกำลัง 2 คูณด้วย 8 ล้าน 1 แสนล้านไมล์

จึงยังผลให้การเดินทางไปและสะท้อนกลับ
ของคลื่นพลังงานกรรมที่ท่านก่อขึ้นนั้น
กว่ามันจะเดินทางย้อนกลับคืนมาถึงตัวท่าน
ที่เรียกว่า "กรรมสนอง" ก็ต้องใช้เวลายาวนานมาก

ท่านจึงจะเห็นได้ว่า
การก่อกรรมให้เกิดผลกรรมดี-ชั่วในภพชาตินี้นั้น
ส่วนใหญ่แล้วมันจะกลับมาสนองคืนเจ้าของกัน
ก็ในภพชาติหน้าเสมอ

6.อารมณ์หยาบๆรายวัน และโลภ โกรธ หลง
ถ้าสั่นสะเทือนโดยจิตของท่านขึ้นมาเมื่อไหร่
"พลังงานกรรม" ที่เรากล่าวต่อท่านทั้งหลายมานี้
มันจะถูกผลิตสร้างขึ้นมาในมิติของจิตทันที

กฎแห่งกรรมที่สำคัญคือ
กรรมดีกรรมชั่ว เป็นของตัวเอง
ใครทำใครได้ ทำแทนกันไม่ได้

7.ผู้ใดเพียรสร้างผลกรรมอยู่ร่ำไปในชีวิตแต่ละวัน
ผู้นั้นเมื่อตายแล้วจิตวิญญาณก็มีหน้าที่
จะต้องย้อนกลับมาเกิดใหม่
มารอรับผลกรรมทางพลังงานที่ตนก่อไว้
เพื่อกำจัด "ขยะพลังงาน" ทั้งหมดของตนให้สิ้น
ด้วยการ "รักได้ ให้เป็น" เท่านั้น
นี่คือ....ที่มาแห่งการมีสังสารวัฏล่ะนะ

8.ถ้าวันๆกรรมเก่ามิได้แก้ไข
กรรมใหม่ก็ยังสร้างเพิ่มอีก
เพราะตกหลุมพรางการยั่วยุจากบททดสอบ
ซึ่งคนรอบข้างเขาหยิบยื่นมาให้แล้วละก็
อย่าหมายเลยว่าจะนำพาแก่นแท้ของตน
ให้หลุดพ้นออกไปจากระบบเอกภพ
สู่แดนสุญญตาที่แก่นแท้ของตนจากมานั้นได้

9.เราจึงขอกล่าวต่อท่านทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้ว่า
จงฝึกครองมหาสติให้เข้มแข็งไว้
จงฝึกรักได้ให้เป็นกับทุกๆคนอย่างไร้เงื่อนไข
จงหมั่นทำสามเหลี่ยมกับพระบิดาผ่านมาทางเรา

ท่านจักเป็นคนที่อยู่ "เหนือกรรม"
เป็นผู้ชนะมาร ชนะทั้งมวล ชนะใจตนเอง
นี่คือเส้นทางสายวิมุตติ์
เหมาะแห่งการจะเป็นผู้ถูก "คัดไว้" เหลือเกิน

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
15-11-2015

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น