วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




ท่านเห็นชะนีตัวนี้มั้ย
เขาจะย้ายตนเองจากต้นไม้ต้นเดิมไปยังต้นใหม่
ที่มือข้างหนึ่งสู้อุตส่าห์ไขว่คว้าเอามาได้แล้วได้หรือไม่ล่ะ
ถ้าสองขาหลังกับหนึ่งหางของเขา
ยังคงยึดรั้งอยู่กับกิ่งเก่าต้นเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น

เขาคงต้องละล้าละลัง
เขาคงยังหยุดรั้งอย่างลังเลอยู่อย่างนั้น

เหตุผลของชะนีผู้มิกล้าเปลี่ยนแปลงตัวนี้อาจเป็นเพราะ

1.กลัวกิ่งใหม่ที่คว้ามาได้จะไม่แข็งแรง
ตนอาจพลัดตกลงมาให้บาดเจ็บได้
.......................................................
หมายถึง การมองว่า....
พระโอวาทพระบิดาที่ชี้ทางหลุดพ้น
ด้วยวิถีแห่งจิตจักรวาลที่ท่านพบเจออยู่นี้
ท่านกลัวว่าจะเป็นลัทธิใหม่
ท่านกลัวว่าจะเป็นธรรมะที่ไม่ถูกต้อง
ถ้าหันมารับเอาท่านอาจผิดพลาดเพราะถูกหลอกลวงได้
จึงมิกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ

การคิดเข้าใจเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง
พระโอวาทพระบิดาที่เราสื่อมาให้นั้น
เป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ "เรียนรู้"
มิได้หมายจะให้ท่าน "รับเอา" โดยไม่เรียนรู้ทันทีที่ได้รู้
ไม่ว่าการรับเอาของท่าน
จะเป็นการรับเอาไว้หรือไม่รับเอาโดยปฏิเสธทันที

2.เชื่อว่าต้นใหม่จะไม่เหมาะสมเท่าต้นเดิม
...........................................................
หมายถึง
เมื่อท่านได้พบเจอพระโอวาทแห่งองค์จิตจักรวาล
ที่ทรงสื่อผ่านเรามาแล้ว
ก็ปฏิเสธทันทีด้วยเชื่อว่า
ธรรมะเดิมๆที่ตนรู้อยู่ ยึดอยู่ ถืออยู่ ปฏิบัติอยู่
ดียิ่งยวดแล้ว ชอบแล้ว ถูกต้องถ่องแท้เป็นที่สุดแล้ว
ทั้งๆที่เราติงเตือนว่า.....

จงให้เวลากับตัวเองแล้วรับฟังเรา
เพื่อนำเอาสิ่งที่เราสื่อสอนไปขบคิดพิจารณา
ในลักษณะของการเรียนรู้ "ความรู้ใหม่"
โดยไม่ปิดกั้นการเรียนรู้ของตัวเองเอาไว้กับสิ่งเดิมๆ
เพราะมันจะช่วยให้ท่านรู้มากขึ้นและฉลาดขึ้นกว่าเดิม
เนื่องจากธรรมะมิได้กล่าวไว้ให้ใครเชื่อ
แต่เรากล่าวไว้ให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ต่างหาก

ทั้งเรายังติงเตือนอีกด้วยว่า
"อย่าเดินถ่างขา" ถ้าปรารถนาการหลุดพ้น
ด้วยการไปเอาวิถีนักบวชคือนักรบแห่งแสงสว่าง
มาผสมผสานปนเปกันกับวิถีแห่งฆราวาส
คือ นักสู้เพื่อการรู้แจ้งมาฝืนปฏิบัติ
จนท้ายที่สุดก็ยังความสับสนให้ตนเอง
ถึงขั้นปฏิบัติธรรมมานานก็ยังนิพพานไม่ได้
ไม่รู้จะดำเนินตนไปทางใดแน่

บางคนถึงกับต่อต้านคำสื่อสอนของพระบิดา
โดยเอาทานศีลภาวนามาเป็นเครื่องมือโต้แย้ง
ทั้งๆที่พระบิดามิได้ปฏิเสธสักนิดเลยว่า
ทานศีลภาวนานั้นไม่ดีหรือชี้ว่าไม่ถูกต้อง
แต่พระองค์ทรงย้ำว่าถ้าถือปฏิบัติเพียงเท่านั้น
แล้วแถมกรรมฐานให้อีกหนึ่งกรรม
ก็ยังมิอาจนำแก่นแท้ของท่าน
ผ่านประตูมิติออกไปได้เลย

จึงเป็นธรรมดาที่ชะนีจะยังคงยึดโยงอยู่กับต้นไม้ต้นเดิม
โดยไม่ยอมกระโจนไปสู่ต้นไม้ต้นใหม่
เพราะยังพอใจต้นเดิมอยู่นั่นเอง
จึงมิยอมเปลี่ยนแปลง

3.ขาดสัญชาตญาณแห่งการเรียนรู้
.................................................
อันที่จริงแล้วพระบิดาทรงกำหนดให้ทั้งสัตว์และคน
มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นคุณสมบัติหลักด้วยกันทั้งสิ้น
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้
ผ่านช่องทางอายตนะทั้งหกชั่วชีวิต
โดยมีบริบทแบบนี้....คือ

เห็นแล้วอยากเห็นอีก
อยากเห็นชัดเจนขึ้น

ได้ยินแล้วอยากฟังอีก
อยากฟังให้ชัดเจนขึ้น

ได้เรียนรู้แล้วอยากเรียนรู้อีก
อยากเรียนรู้ให้มากขึ้น

ดังนั้น
เมื่อชะนีพบเจอต้นไม้ต้นใหม่
ก็จะใช้สัญชาตญาณของมันเรียนรู้ทันทีว่า
ต้นใหม่สามารถเป็นที่พึ่งของมันได้ไหม
มีอาหารมากกว่าต้นเดิมที่เกาะกินอยู่นานแล้วบ้างไหม
โดยมันจะใช้สองตาและสองรูจมูกเรียนรู้อย่างเต็มที่
เมื่อค้นพบความจริงที่ตนต้องการ
ชะนีตัวนั้นก็จะกระโจนไปสู่ต้นใหม่อย่างไม่ลังเล

มนุษย์มีจิตสำนึกหรือจิตปัญญาเหนือกว่าชะนี
พอเห็นความรู้ใหม่ของพระบิดาเข้า
กลับพากันปฏิเสธทันที
โดยมิได้ใช้สัญชาตญาณเพื่อการเรียนรู้เลย

เพราะมัวเสียดายของเก่า
เพราะหลงยึดติดกับของเก่า
เพราะเกลียดกลัวการเปลี่ยนแปลง

เพราะเหตุเหล่านี้เอง
สิ่งใหม่ๆที่ยิ่งใหญ่กว่า
จึงมิอาจปรากฏผลใดๆได้ในชีวิตของคนส่วนใหญ๋

เอเมน...สาธุ

ป.วิสุทธิปัญญา
11=02=2015

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น