วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558



มีความจริงอยู่เรื่องหนึ่ง
ซึ่งไม่ค่อยจะมีผู้ใดกล่าวถึง
ทั้งๆที่เป็นความจริงอีกสิ่งหนึ่ง
ซึ่งท่านทั้งหลายจักต้องรู้
นั่นคือเรื่องของ "สุญตา" ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องมา
เกี่ยวข้องกันกับเรื่องของ "นิพพาน" โดยตรง
หากใครกล่าวถึงเรื่องนิพพาน
หรือการหลุดพ้นออกไปจากระบบเอกภพ
นั่นเท่ากับว่าเขาคนนั้น
กำลังกล่าวถึงเรื่อง "สุญตา" ไปในคราเดียวกันด้วย
เพราะคำว่า "นิพพาน" ที่เป็นกริยานั้น
ในวิถีจิตจักรวาลเราหมายถึง
การดับการเกิดดับของทั้ง 4 อย่างได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
ดังนั้น.....
ผู้ที่นิพพานแล้วก่อนตายจึงหมายถึง
ผู้สามารถ "ดับการเกิดดับ" ของสี่อย่างที่ว่านั้น
ได้สำเร็จโดยบริบูรณ์แล้วอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง
การที่ท่านสามารถดับการเกิดดับของทั้งสี่อย่างนี้ได้
จึงหมายถึงตัวท่านนั้น
"ว่างไปจากการมีสิ่งนั้นอยู่"
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว.....
การดับการเกิดดับทั้งสี่อย่างได้อย่างสิ้นเชิงนี่แหละ
ที่เรียกกันว่า "สภาวะนิพพาน"
หรือกล่าวสั้นๆว่า "นิพพาน"
เพราะท่านเข้าถึงสภาวะนิพพานได้นี่แหละ
ท่านจึงเป็นผู้ "ว่างไปจากสิ่งที่มีอยู่"
การเป็นผู้ว่างไปจากสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่นี่เอง
ที่ส่งผลให้ตัวท่านถึงพร้อมในคุณสมบัติแห่ง "สุญตา"
สำหรับ "วิถีแห่งจิตจักรวาล" อันเป็นสากลนั้น
ของ 4 อย่างที่ท่านทั้งหลายล้วนมีอยู่
ซึ่งท่านจักต้องหาหนทางดับมันให้สิ้นก่อนตาย
เสมือนดั่งดับไฟโดยมิให้เหลือเชื้อไฟลุกติดขึ้นมาได้อีก
ประกอบด้วย
1.อายตนะภายนอกทั้งห้า "ว่าง"
หมายถึง ท่านต้องทำให้มันเหมือนท่านไม่มีมันอยู่
ทั้งๆที่ท่านยังมีอายตนะภายนอกทั้งห้าอยู่ครบ
2.เครื่องยนต์แห่งกรรม หรือ กายหยาบ "ว่าง"
หมายถึง ท่านต้องทำให้มันเหมือนไม่มีตัวตนอยู่
ทั้งๆที่ท่านรู้อยู่ว่าท่านยังมีตัวตนอยู่
3.จิตมนุษย์ หรือ จิตหยาบ "ว่าง"
หมายถึง ท่านต้องทำให้มันเหมือนไม่มีจิตหยาบอยู่
ทั้งๆที่ท่านรู้อยู่ว่าท่านมีมันอยู่และกำลังใช้มันอยู่
4.จิตวิญญาณหรือแก่นแท้ "ว่าง"
หมายถึง ท่านต้องทำให้จิตวิญญาณของท่าน
เสมือนว่างไปจากการก่อกรรมใดๆอย่างสิ้นเชิง
ทั้งๆที่จิตวิญญาณของท่านก็ยังก่อกรรม
ตามพันธะสัญญาอยู่
หากท่านใดสามารถทำให้ตนเอง
เข้าถึงสภาวะแห่งนิพพาน
ผ่านความว่างของทั้ง 4 อย่างดังกล่าวนั้นได้
เท่ากับว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่จะได้ชื่อว่า
เป็นผู้นิพพานก่อนตายสำเร็จแล้ว
บันใดแห่งการหลุดพ้นบนถนนนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง
จะทอดตัวนำพาแก่นแท้ของท่านสู่ประตูมิติ
เพื่อการหลุดพ้นออกไปจากเอกภพทางด่านนภาลัย
ในฉับพลันทันทีที่ท่านละวาง
เครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์ของท่านไป
บนมรรควิถีแห่งนิพพาน เราจึงย้ำเตือนท่านเสมอมาว่า
ท่านจักต้องปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้
ซึ่งเราได้สื่อพระโอวาทจากองค์จิตจักรวาล ในระบบจิตสู่จิต
มายังโลกเสรีนี้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ รับรู้ตลอดมา
เป็นต้นว่า.....
อย่าเดินถ่างขานะ ถ้าปรารถนาจะนิพพาน
จงหยิบปัญญามานิพพาน
จงละวางกิเลส ปฏิเสธตัณหาให้ได้
จงฝึกครองมหาสติในชีวิตประจำวันกันให้ได้
จงแสดงปณิธานแห่งนิพพานให้ชัดเจน
จงใช้มหาสติสร้างจิตใสใจสวยให้ตนเองให้จงได้
จงเป็นคนพ้นกรรม
จงอย่าคิดแบบจิตมนุษย์
ฯลฯ
นักเรียนที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
วิธีที่จะเข้าถึง "ความว่าง" หรือ "สุญตา" นั้น
มันไม่ได้มีหลายวิธี
อีกทั้งมันก็มิได้มีความยาก
อย่างที่พวกท่านสั่งสอนกันมาหรอกนะ
เพราะพวกท่านส่วนมากชอบไปคิดว่ามันยาก
ขณะที่หลายคนก็ชอบไปคิดให้มันยาก
เรื่องของนิพพาน เรื่องของความว่าง
มันจึงกลายเป็นเรื่องยากไปจริงๆ
วิธีที่จะเข้าถึงสภาวะแห่งความว่างที่ผิด
คือ การแสวงหา "ความว่าง"
เพราะนอกจากท่านจะไม่มีทางพบเจอความว่างแล้ว
มันยังจะทำให้ตัวท่านเองนั่นแหละ "ไม่ว่าง" เข้าให้
วิธีที่จะเข้าถึง "ความว่าง" หรือ "สุญตา" ที่ถูกต้อง
ซึ่งมีเพียงหนทางเดียวเท่านั้น
ที่ท่านจะประสบผลสำเร้จได้อย่างแน่นอน
นั่นคือ "การทำให้มันว่าง"
ทำอะไรให้มันว่างน่ะหรือ
ก็ทำสี่อย่างที่เรากล่าวไว้ข้างต้นนั้นไงล่ะ
เร่งรีบเข้า....เพราะพวกท่าน
คงต้องใช้เวลาอยู่ไม่น้อยเลยจึงจะยกระดับตนเองได้
พระบิดากำลังจะทรงเร่งรัดให้เรา "กดปุ่ม" อันสำคัญแล้ว
จงใช้ปัญญาหาวิธีทำให้ทั้งสี่อย่างของท่านมันว่างให้จงได้
เพื่อให้ทันขบวนรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลกขบวนนั้น
ที่เรานำมาอวดท่านทั้งหลายให้เกิดสติทางวิญญาณ
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมานั่นแหละนะ
จงอย่ามัว.......
งมงาย หงุดหงิด งุ่นง่าน
งุนงง งกเงิน งุ่มง่าม งี่เง่า ง่วงเหงา
เงอะงะ เงื้อง่า ง่อนแง่น ง่องแง่ง
งึมงำ โงนเงน งอแง งัวเงีย แง่งอน....
กันอยู่เลย.......
เอเมน....สาธุ......
ป.วิสุทธิปัญญา
9-01-2015

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น