วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของ อภิปรัชญา


ความหมายของอภิปรัชญา


                อภิปรัชญาเป็นคำแปลของคำว่า Metaphysics ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence)  มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Metaphysics  คือ Ontology  แปลว่า ภววิทยา  ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่  Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง  หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน  คือ  ความมีอยู่ของความแท้จริง  หรือความแท้จริงที่มีอยู่  เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน

                อภิปรัชญาเมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์  อภิปรัชญามาจากคำว่า  อภิหมายถึง ความยิ่งใหญ่ สูงสุด  เหนือสุด  และปรัชญาหมายถึงความรู้อันประเสริฐเมื่อรวมเข้าด้วยกัน อภิปรัชญาจึงหมายถึง  ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรู้เห็นใด ๆ แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล

สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)

                ความหมายของสสารนิยม เป็นคำศัพท์หนึ่งของคำ Materialism อีกศัพท์หนึ่งคือ วัตถุนิยม สสารนิยมบัญญัติขึ้นใช้ในอภิปรัชญา  ส่วนวัตถุนิยมใช้ในจริยศาสตร์ เพื่อมิให้สับสน มีความหมายแตกต่างกันในสาระสำคัญ  เช่น  ที่ใช้ว่า นักศีลธรรมเรืองนาม  บางพวกซึ่งไม่พอใจสภาวการณ์ในปัจจุบันของโลกกล่าวประณามการเข้ามาของ Materialism ว่าเป็นมูลเหตุให้ศีลธรรมเสื่อมตามนัยนี้ Materialism หมายถึง ทัศนะทางจริยศาสตร์คือศาสตร์ที่ถือว่า  ทรัพย์สินเงินทองและอำนาจเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะอำนวยความสุขสูงสุดให้แก่ชีวิตได้ จึงได้มีการบัญญัติคำว่า วัตถุนิยม (ปัจจุบันทางอภิปรัชญาก็ใช้เรียก วัตถุนิยมคำ Materialism ที่ใช้ในอภิปรัชญานั้น  หมายถึงทัศนะที่ว่าสะสารหรือพลังงานเป็นเครื่องกำหนดลักษณะพื้นฐานของสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลาย  แต่สสารเท่านั้นเป็นภาวะที่มีอยู่จริงนอกนั้นไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง  สิ่งที่เรียกว่าจิตหรือประสบการณ์ทางจิตไม่มีอยู่จริง  เป็นเพียงภาวะอนุพันธ์คือ  เกิดจากสสารนั้นเอง  หรือเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตของสสารจึงได้มีการ
บัญญัติว่า  สสารนิยม
                กลุ่มสสารนิยมถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสสารหรือวัตถุ  สสารนิยมนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปรัชญายุคแรกของกรีกที่พยายามค้นหาคำตอบของโลกและสรรพสิ่ง (วัตถุ) ที่ปรากฏอยู่ โดยได้คำตอบแตกต่างกัน  เช่น ธาเลส  ตอบว่าโลกเกิดจากน้ำ  อแนกซีแมนเดอร์  ตอบว่าโลกเกิดจากธาตุ 4 คือ ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ เมื่อธาตุ 4 นี้รวมกันกับสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้นนี่เป็นความคิดเบื้องต้นของกลุ่มสสารนิยม  ลิวคิปปุสและเคโมคลิตุส  ได้เชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสสารนิยมขึ้นอย่างแท้จริงโดยถือว่าวัตถุหรือสสารนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันเองของอะตอมจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน  วัตถุหรือสสารนั้นเมื่อแบ่งแยกออกเป็นส่วนย่อยที่สุดจนไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปอีกได้เรียกว่า  อะตอม  สสารนิยมแบ่งเป็น  กลุ่มย่อย  คือ

                1. อะตอม  (Atomism)  หรือ ปรมาณูนิยมนี้มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงมีแต่สสารเพียงอย่างเดียว มวลสารนี้สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุด  เรียกว่า อะตอม (หรือ ปรมาณู) ซึ่งคำว่าอะตอมที่ใช้ในทางปรัชญานี้หมายถึง  อนุภาคที่เล็กที่สุด  เป็นอนุภาคสุดท้ายที่แยกต่อไปอีกไม่ได้แล้ว  อะตอมนี้เป็นอนุภาคนิรันดร ไม่เกิด ไม่ตายมีมาเอง ไม่มีใครสร้าง และไม่มีใครทำลายได้  หรือแม้ว่าจะทำให้มันแตกออกก็ย่อมไม่ได้ แต่ถึงแม้ว่าอะตอมจะเล็กสักปานใดก็ตาม  ตะตอมก็เป็นมวลสารที่มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักนั้นคือแม้จะมีจำนวนมากมายก็ตาม  อะตอมก็มีปริมาณคงตัว และคุณภาพของอะตอมแต่ละอนุภาคก็คงตัว (ทฤษฎีจึงมีลักษณะเป็นพหุนิยม สสารนิยม) ซึ่งแต่ละอนุภาคอาจแตกต่างกันในเนื้อสาร  มวลสาร  ขนาดรูปร่างและน้ำหนัก

                ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) ได้เอาทฤษฎีปรมาณูของเดโมครีตัส  มาพัฒนาจนถึงกับอธิบายว่าชีวิตคือ  เครื่องจักร จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของลัทธิจักรนิยม (Machanicism)

                ฮ็อบส์ กล่าวว่า ความเป็นจริงมีแต่สสารซึ่งมีพลังประจำตัว  พลังนี้อาจถ่ายทอดจากเทห์หนึ่งไปสู่เทห์อื่นได้ด้วยการประชิด   ปรากฏการณ์ทั้งหลายในเอกภพเกิดจากการเปลี่ยนที่ของเทห์ด้วยอำนาจของพลังที่ถ่ายทอดกันระหว่างเทห์  โดยมีกฎแน่นอนตายตัวตามหลักกลศาสตร์ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ  มีผลก็ต้องมีสาเหตุ  เช่น มีไอน้ำเกิดในอากาศเกินจุดอิ่มตัวมาก ๆ ก็ต้องตกลงมาเป็นฝน  เป็นต้น  เขายังกล่าวว่าชีวิต  คือ  เครื่องจักรกลซับซ้อน  โดยเปลี่ยนให้ดวงตาเหมือนกล้องถ่ายรูป  ปอดเหมือนเครื่องปั้มลม ปากเหมือนโม่บด แขนเหมือนคานงัด  นอกจากนั้นเขายังเปรียบหัวใจเหมือนสปริง   เส้นประสาทเหมือนสปริงจำนวนมาก  กระดูกข้อต่อเหมือนวงจักร  สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายมนุษย์เคลื่อนไหวได้

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) กล่าวว่า สสารมีพลังตัวเองตามกฎปฏิพัฒนาการของเฮเกล  คือจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันเพื่อจะได้หาทางประนีประนอมกัน  แล้วส่วนรวมก็จะก้าวหน้า  เมื่อประนีประนอมกันแล้วจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันต่อไปอีกเพื่อให้ได้ให้ก้าวหน้าต่อไป   มาร์กซ์  กล่าวว่า  มนุษย์ที่ต่อสู้มากจะพัฒนาเร็วกว่ามนุษย์ที่หลีกเลี่ยงการต่อสู้  แต่นั้นเป็นวิธีก้าวหน้าที่ยังฉลาดไม่ถึงขั้น  เมื่อมนุษย์เรียนปรัชญาฉลาดถึงขั้นบรรลุอุตรญาณแล้วก็จะเข้าถึงสัจธรรม  จะเป็นแข้งว่าวิธีที่มนุษย์จะก้าวหน้าได้แนบเนียนที่สุดก็คือ  การต่อสู้การงานเมื่อมนุษย์ เข้าถึงสัจธรรมนี้กันหมดแล้ว  มนุษย์ก็จะไม้ต่อสู้กันระหว่างมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป  และจะไม่มีการแบ่งพวกขัดแย้งกันอีกต่อไป

2. พลังนิยม (Energetism) พลังนิยมมีความเห็นว่าสสารมิได้มีมวลสารดังที่มนุษย์มีประสบการณ์ด้วยประสาทสัมผัส แต่เนื้อแท้เป็นพลังงานซึ่งเมื่อทำปฏิกริยากับประสาทสัมผัสของมนุษย์ทำให้รู้สึกไปว่ามีมวลสารพวกพลังนิยมจึงยืนยันว่าความเป็นจริงเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวที่กระทำการให้เกิดสิ่งต่าง ๆ และเหตุการณ์ทั้งหลายในเอกภาพ  พลังงานดังกล่าวอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นไป ทำให้มีชื่อผิดเพี้ยนกันออกไปได้  นักปรัชญาพลังนิยมที่สมควรกล่าวถึงคือ

                อาร์ทูร์  โชเป็นเฮาเออร์ กล่าวว่าความเป็นจริงแล้วเป็นพลังตาบอดที่ดิ้นรนไปตามธรรมชาติของพลังแสดงออกมาเป็นพลังต่าง ๆ  ในธรรมชาติ  เช่น  พลังแม่เหล็ก  พลังไฟฟ้า  พลังน้ำตก  พลังดึงดูด และสูงขึ้นมาเป็นพลังในพืช  พลังสัญชาตญาณและพลังกิเลสในมนุษย์  มนุษย์เราจึงดิ้นรนที่จะเอาชนะอยู่ตลอดเวลา  พลังในธรรมชาติทุกอย่างเป็นพลังดิ้นรนหรือเจตจำนงที่จะมีชีวิต (the will-to-live) เพราะการดิ้นรนนี้ไม่มีแผนผลจึงอาจะเป็นการก้าวหน้าหรือถอยหลังก็ได้  ความจริงจึงขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่ราบรื่น  แม้ว่าพลังส่วนรวมจะตาบอด  แต่พลังที่แบ่งส่วนมาเป็นมนุษย์แต่ละส่วนนี้มีความสำนึกได้  เพราะเป็นพลังที่เข้มข้นที่สุด  และอาจจะช่วยวางแผนแก้ปัญหาให้แก่พลังส่วนรวมได้  ซึ่งโชเป็นเฮาเออร์ได้กล่าวไว้ในปรัชญาจริยะ

                นิตเช่ (Friedrich Nietzsche) ได้กล่าวแก้ไขความคิดของโชเป็นเฮาเออร์ว่าพลังตาบอดนั้นมีลักษณะเป็นการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด  นั้นก็คือการดิ้นรนเพื่ออำนาจดังนั้นพลังรวมของโชเป็นเฮาเออร์ ควรเรียกใหม่ให้ถูกต้องว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (the will-to-power) จะสังเกตได้ว่าพลังที่แสดงออกในธรรมชาตินั้น บางทีก็ยอมเสี่ยงการมีชีวติเพื่อจะมีอำนาจเหนือหน่วยอื่นยิ่งในหมู่มนุษย์ด้วยแล้ว  ยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น  คนต่อสู้กับคนเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำ  ชาติต่อสู้กับชาติเพื่อความเป็นเจ้าโลก  การต่อสู้ดิ้นรนเช่นนี้จะทำให้มนุษย์พยายามพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นยิ่ง ๆ ขึ้นไป และจะเกิดมนุษย์ที่มีความสามารถเหนือผู้อื่นที่เรียกันทั่ว ๆ ไปว่า  อภิมนุษย์ (Superman) ขึ้นในอนาคต

                ทักซ์ปลังค์ (Max Planck) และนักวิทยาศาาตร์นิวเคลียร์ปัจจุบันบางท่านกล่าวว่ามนุษย์เราสามารถแยกปรมณูออกได้เป็นประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นอันว่ามวลสารทั้งหลายประกอบจากพลังงานทั้งสิ้น  พลังงานเลห่านี้มิได้รวมเป็นเนื้อเดียวแต่เป็นกลุ่มของอนุพลังงานซึ่งแต่ละอนุภาคจะแบ่งออกต่อไปอีกไม่ได้  เรียกว่า (Quantum)   ควันตัมเป็นหน่วยย่อยที่สุดของพลังงาน  ซึ่งเมื่อรวมตัวกันในลักษณะต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดสิ่งทั้งหลายและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเอกภพ  พลังงานในเอกภพมีพลังมากมายเหลือเกินจนไม่มีใครกำหนดได้แต่ที่น่าสังเกตก็คือพลังงานมิใช่คงตัวอยู่อย่างเดิมแต่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพอยู้เสมอ  อาจจะดีหรือเลวลงก็ได้ แ ต่เท่าที่สังเกตเป็นส่วนรวมปรากฏว่าดีขึ้นเรื่อย ๆ
                โดยสรุปจะเห็นได้ว่าลักษณะร่วมของนักปรัชญาพลังนิยม  คือ  สิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีเกณฑ์ตายตัว  อาจจะเกิดขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ของมนุษย์หรือไม่ก็ได้  เช่น  มนุษย์บางคนดิ้นรนเพื่อการมีรชีวิตอยู่รอด แต่ผลอาจจะตายก็ได้

จิตนิยม  (Idealism)
                ความหมายของจิตนิยม  เป็นศัพท์บัญญัติศัพท์หนึ่งของคำ Idealism ที่ใช้ในทางอภิปรัชญา แต่ถ้าใช้ในทางจริยศาสตร์มีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทย อีกศัพท์หนึ่งว่า  อุดมคตินิยมมีคำถามว่า  คำ Idealism คำเดียวทำไมต้องบัญญัติศัพท์ภาษาไทยถึง 2 คำ คำตอบก็คือ  เพราะท่านใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน  ในทางจริยศาสตร์ใช้คำว่า Idealist หมายถึงบุคคลที่มองเห็นเป้าหมายอันสูลส่งของชีวิตและพยายามจะเข้าสู่เป้าหมายอันนั้นให้ได้ในภาษาไทยเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า  นักอุดมคตินิยม แต่ในทางอภิปรัชญา Idealist หมายถึงผู้ศึกษาค้นคว้าว่าอะไรคือความจริง  อะไรคือสภาพมูลฐานของสิ่งทั้งหลายที่สมนัยกันหรือเข้ากันได้ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของมนุษย์ในภาษาไทยเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า นักจิตนิยม
                กลุ่มจิตนิยม  ถือว่าจิตเป็นความแท้จริงสูงสุดเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น  สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น  เช่น  ร่างกายมนุษย์เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวของจิตเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของจิต  เมื่อร่างกายสูญสลายจิตสัมพัทธ์ก็ยังคงอยู่  ซึ่งบางทีอาจกลับคืนสู่แหล่งเดิมของตนคือจิตสัมบูรณ์อันเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง  ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่อธิบายได้ด้วยอาการปรากฏของจิตสัมบูรณ์ทั้งสิ้น  จิตเป็นธรรมที่มีเพียงชื่อหารูปไม่ได้  ผู้มีปัญหาเท่านั้นจึงจะรู้จักจิตได้  จิตนิยมแบ่งออกเป็น  กลุ่ม  คือ

1. จิตนิยมกรีกโบราณ
 พาร์มีนิดิส Parmenides เป็นนักปราชกรีกสมัยโบราณ ได้รับความนับถือย่างมากว่าเป็นผู้ที่มีปัญญาลึกซึ้งและอุปนิสัยสูงส่งดีเลศ  เพลโตได้กล่าวถึงเขาอย่างเคารพนับถือเสมอมา  ทัศนะทางปรัชญาของพาร์มีนิดิสเกิดจากการเฝ้าสังเกตความไม่เที่ยงแท้  หรือความเป็นอนิจจัง  หาสิ่งที่คงสภสพอยู่ตลอดไปท่ามกลางการแปลสภาพของสิ่งทั้งหลาย ด วยเหตุนี้ความคิดเรื่องสัตและอสัตจึงเกิดขึ้น  สิ่งที่เป็นจริงสูงสุดคือสัต (Being) ส่วนอสัตไม่จริงโลกแห่งผัสสะเป็นภาพมายาไม่จริงเป็นอสัต  สัตเท่านั้นที่เป็นจริง
                เพลโต (Plato) จิตนิยมของเพลโตได้รับอิทธิพลจากปรัชญาของพาร์มีนิดีสอย่างมาก  คือ เพลโตได้นำความคิดเรื่องโลกแห่งมโนคติหรือทฤษฎีแบบ (World of Ideas or Theory of Form)   มาจากคำสอนเรื่องสัต (being) ของพาร์มีนิดีส มาพัฒนานั่นเอง
                มนุษย์ในทัศนคติของเพลโต คือ ธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 อย่างคือ กายกับจิต  จิตทำหน้าที่  ภาค คือ ภาคตัณหา ภาคน้ำใจ และภาคปัญญา  ภาคทั้งสามของจิตกล่าโดยสรุปดังนี้
                1. ภาคตัณหา ตัณหา หมายถึง ความต้องการความสุขทางร่างกาย  เช่น  การกินอยู่  หลับนอน คนที่มีจิตภาคนี้เหนือกว่าภาคอื่น ๆ ได้แก่  คนที่ลุ่มหลงอยู่ในโลกีย์สุขทั้งปวง  ตามทัศนคติของเพลโต  เปรียบคนพวกนี้เหนือกว่าภาคอื่น ๆ ได้แก่ คนที่ลุ่มหลงในโลกีย์สุขทั้งปวง  ตามทัศนะของเพลโตเปรียบคนพวกนี้ไม่ต่างกับเดรัจฉาน  หาความสุขทางการผัสสะเหมือนสัตว์ถึงแม้ว่าจะซับซ้อนหรือละเอียดอ่อนกว่าสัตว์ก็ตาม
                2. ภาคน้ำใจ  น้ำใจ  หมายถึง  ความรู้สึกทางใจที่เกิดขึ้นโดยมิได้มีสาเหตุทางวัตถุ  เช่น ความเสียสละ ความรักระเบียบวินัย  ความเมตตาเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์คนที่มีจิตภาคน้ำใจเป็นใหญ่เหือกว่าภาคอื่น ๆ ก็ยังมีความปราถนาในโลกีย์อยู่เพราะเป็นความต้องการทางกายอันเป็นเรือนที่จิตคลองอยู่  แต่คนเหล่านี้มิไดเเป็นกังวลกับเรื่องดังกล่าว  เขาอาจจะยอมตายมากกว่ายอมเสียเกียรติคนเหล่านี้สูงกว่าเดรัจฉาน  เพราะเดรัจฉานทำทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น
                3. ภาคปัญญา ปัญญา หมายถึง  ความมีเหตุผล  จิตภาคนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเหตุผลเป็นส่วนที่เพลโตถือว่าทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์และสิ่งทั้งปวงในโลก  จิตภาคปัญญาทำให้มนุษย์รู้จักความจริงคนที่มีจิตภาคตัณหาอาจยอมทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาความรู้  คนที่มีจิตภาคนี้น้ำใจอาจยอมเสียสละความสุขเพื่อรักษาเกียรติ  แต่คนที่มีจิตภาคปัญญาอาจยอมเสียทั้งความสุขและเกียรติเพื่อความรู้และความจริง

2. จิตนิยมประสบการณ์
                จิตนิยมประสบการณ์หมายถึง หลักปรัชญาของปรัชญาเมธีทั้งหลายเช่น จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) จอห์น ล๊อค (John Lock) เดวิด ฮิวม์ (David Hume) เป็นต้น
                จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) เป็นนักปรัชญาชาวไอริส (Irish) เป็นนักปรัชญากลุ่มประจักษ์นิยม (ประสบการณ์นิยมในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับจอห์น ล๊อค เบริคเลย์ กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้ทางประสาทสัมผัสนั้น  มีอยู่ได้เพราะจิตและแนวความคิดหมายความว่าเราต้องมีแนวความคิดในเกี่ยว ๆ กับสิ่งต่างๆ และแนวความคิดนั้นมีอยู่ในจิตใจเรา  ดังนั้นสิ่งที่แท้จริงคือจิตและความคิด (Mind and Idea) เบริคเลย์  กล่าวว่าสสารหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์รับรู้ทางประสาทสัมผัสเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง  แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงโดยจิต  ในฐานะที่มันถูกรู้หรือรับรู้ด้วยจิต  สสารไม่ได้มีอยู่ได้ด้วยตัวเองแต่มีอยู่เพราะจิต  ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่าความมีอยู่คือการถูกรับรู้ ( To be is to be percieved)  ซึ่งหมายความว่าความมีอยู่ของทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกต้องรับรู้ได้หรือสามารถรับรู้  ถ้าสิ่งใดก็ตามไม่ถูกรับรู้ก็จะกล่าวว่าสิ่งนั้นมีอยู่ไม่ได้  และได้กล่าวต่อไปอีกว่าจิตไม่ใช่สร้างแนวความคิด  แต่แนวความคิดนี้ถูกใส่ไว้ในจิตโดยพระเจ้า คือ พระเจ้าได้สร้างแนวความคิดไว้ในจิตของมนุษย์ทุกคน

3. จิตนิยมเยอรมันสมันใหม่และรูปแบบต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กัน
                จิตนิยมเยอรมัน หมายถึง หลักปรัชญาของนักปรัชญาเมธีทั้งหลาย  เช่น ไลบ์นิชคานต์เฮเกล เป็นต้น
                อิมมานูเอล  คานต์ (Immanuel Kant) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน  แนวปรัชญาของคานต์มีลักษณะประนีประนอมหลักการของกลุ่มเหตุผลนิยมและประจักษ์นิยมโดยกล่าวว่าความรู้บางชนิดเป็นความรู้ที่มีมาก่อน
 เป็นความรู้ที่จริงและจำเป็นที่มุกคนมีเหมือนกันตรงกันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้  ทั้งในอดีตปัจจุบัน และอนาคต  แต่ความรู้บางชนิดเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (Posteriori) ได้แก่ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส  ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นและเป็นปัจจุบัน  จากทัศนะนี้เป็นการยอมรับหลักการของกลุ่มเหตุผลนิยมและกลุ่มประจักษ์นิยมเป็นบางส่วน  และมีการปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่  ตามทัศนะของคานต์ความรู้จึงแบ่งออกเป็น  ประเภท  คือ ความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์  และความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากปัญหาหรือความคิดของมนุษย์ (A Priori Knowledge)

                3.4 ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
                ความหมายของธรรมชาตินิยม เป็นศัพท์บัญญัติหนึ่งของคำว่า Naturalism ธรรมชาตินิยมเป็นปรัชญาที่อยู่กลาง  ระหว่างสสารนิยมและจิตนิยม กล่าวคือสสาระนิยมเชื่อว่าสสารหรือวัถุเท่านั้นเป็นจริงส่วนจิตนิยมเชื่อว่านอกจากสสารแล้วยังมีความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความจริงมากกว่าสสาร สิ่งนั้นคือจิต แต่สำหรับธรรมชาตินิยมทำหน้าที่ประนีประนอม ทัศนะของสสารนิยมและจิตนิยมโดยทัศนะแยบบกลาง ๆ คือบางแง่เห็นด้วยกับสสารนิยม  และบางแง่ก็เห็นด้วยกับจิตนิยม  แต่โดยหลักพื้นฐานแล้วธรรมชาตินิยมมีทัศนะใกล้เคียงกับสสารนิยมมากกว่า
จอห์น ดิวอี้ เป็นนักธรรมชาตินิยมอีกท่านหนึ่ง  ซึ่งถูกจัดไว้ในพวกกลุ่มขวาแม้กระนั้นท่านก็ยังยอมรับมโนภาพของซันตายานาที่ว่าศาสนานั้นเกี่ยวข้องกับค่านิยมทางอุดมคติซันตายานาแบ่งองค์ประกอบทางศาสนาออกเป็นสองอย่างคือ ความรู้สึกทางศีลธรรม  และมโนภาพทางกวีหรือทางบุราณวิทยาที่เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย  อุดทคติจึงเป็นเครื่องนำทางที่สำคัญพระเจ้านั้นเป็นชื่อหนึ่งของอุดมคติทั้งหลาย  ซึ่งเราถือว่าเป็นเอกภาพอย่างหนึ่งดังที่ดิวอี้กล่าวว่าสมมุติว่าคำ  พระเจ้า  หมายถึง จุดหมายทางอุดมคติ ซึ่ง ณ กลาและสถานที่หนึ่งที่บุคคลยอมรับกันว่ามีอำนาจเหนือเจตนา และอารมณ์ของเขา เป็นค่านิยมที่บุคคลเชื่อถืออย่างสูงส่งจึงพึงเห็นว่า
จุดหมายเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นเอกภาพ
สรุป ธรรมชาตินิยม  กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าไม่มีระเบียบเหนือธรรมชาติ  ไม่มีทวิภาค ระหว่างพระเจ้ากับโลก  อย่างไรก็ตามยังมีธรรมชาตินิยมบางลัทธิเข้ากันได้กับหลักคำสอนที่ถือว่าพระเจ้าเป็นอุดมคติอย่างหนึ่ง  อุดมคตินี้อาจมีอิทธิพลเหนือธรรมชาติมนุษย์ผู้ปราถนาแสวงหาความดี

                3.5 ภววิทยา (Ontology)
                                ภววิทยาเป็นสาขาสำคัญของอภิปรัชญาเพราะเป็นศาสตร์ท่าว่าด้วยสิ่งที่แท้จริงอันติมะ ปัญหาที่ภววิทยาพยายามตอบก็คือ  สิ่งที่แท้จริงอันติมะคืออะไร  นักปราชญาได้ใช้วิธีการหลายอย่างต่าง ๆ กันในอันที่จะตอบปัญหาดังกล่าว  วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ได้กลายมาเป็นทฤษฎีของภววิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าวมีที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม  ทวินิยม  และ พหุนิยม

เอกนิยม (Monism)
                เอกนิยม คือ ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงคือปฐมธาตุเพียงอย่างเดียวถ้าถือว่าความแท้จริงเป็นจิตอย่างเดียวเรียกว่าเอกนิยมแบบจิต  ถ้าถือว่าแม้จริงเป็นสสารอย่างเดียวเรียกว่าเอกนิยมแบบสสาร  แต่ถ้าถือว่าความแท้จริงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารเรียกว่า มัชฌิมนิยม
                เอกนิยมแบบจิต  ถือว่า ความแท้จริงปฐมธาตุมีแต่นามธรรม หรือจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งขึ้นอยู่กับความจริงสูงสุด อันได้แก่  ปรัชญาสัต (Philosophy of Being) เป็นปรัชญาของพาร์มีนิดีส (Parmenides) สมัยกรีกโบราณ กลาวว่าความแท้จริงปฐมธาตุคือสัตซึ่งมีภาวะเป็นนิรันด์รวมเอาภาวะต่าง ๆ ไว้ในหน่วยเดียวกันไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น แต่การที่เรามองเห็นกดารเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นมายา คือ ความเข้าใจผิดไป  ส่วนเฮเกล (Hegel) ถือว่าความแท้จริงมีจิตดวงเดียวเรียกว่าสิ่งสัมบูรณ์
(The Absolute)  เป็นต้นกำเนิดจิตทั้งปวง ลักษณะของจิตคือหยุดนิ่งไม่ได้จะต้องมีกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเช่นนั้นจิตจะไม่มีตัวตนจะไม่เรียกว่าจิต การเคลื่อนไหวของจิตเรียกว่าการพัฒนาแบบปฏิพัฒนาการ (Dialectic) แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ จิตเดิมที่บริสุทธิ์ (Thesis) จิตขัดแย้ง ยังแสดงตัวออกเป็นสสาร (Antithesis) และจิตสังเคราะห์  สสารสำนึกตัวเองว่าเป็นจิต (Synthesis)
                เอกนิยมแบบสสารถือว่า ความแท้จริงแบบปฐมธาตุมีแต่สสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีจิตหรือสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้  เช่น  ปรัชญากรีกสมัยแรก ๆ ในปัจจุบันมาร์กได้หปรับปรุงปรัชฐาของเฮเกลให้เป็นสสารนิยมแบบปฏิพัฒนในที่สุดเอกนิยมแบบสสารก็ได้พัฒนามาเป็นธรรมชาตินิยมวิวัฒนาการปัจจุบัน
                มัชฌิมนิยม  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ทฤษฎีสองแง่ ถือว่าความแท้จริงปฐมธาตุมีเพียงหนึ่งเดียว  ไม่ใช่ทั้งจิตและไม่ใช่ทั้งวัตถุ ความแท้จริงหน่วยเดียวคือพระเจ้าแสดงตัวออกมา  2 ลักษณะ คือ จิตกับวัตถุ เราสามารถรู้จักความแท้จริงได้โดยใช้เหตุผลพิสูจน์แบบเรขาคณิตสปิโนซ่าเป็นนักปรัชญาสำคัญในแนวคิดแบบนี้ในทัศนะของสปิโนซ่า  จิตกับกายเป็นสองแง่ความแท้จริงเดียวกัน ซึ่งซ่อนอยู่เบื้องจิตกับวัตถุจึงเป็นสารัตถะเดียวกันที่มองได้หลายด้านเสมือนเงินเหรียญ ๆ หนึ่งมี 2 หน้านั่นเอง สารัตถะอันเดียวนี้เรียกว่า พระเจ้า

ทวินิยม (Dualism)
                ทวินิยม คือ ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงปฐมธาตุมี 2 อย่างคือ จิตกับสสาร  แยกออกเป็น 2 กลุ่ม  คือกลุ่มที่ถือว่าจิตเป็นผู้สร้างสสารเรียกว่า  รังสรรค์นิยม และกลุ่มที่ถือว่า จิตกับสสารมีควบคู่กันมาตั้งแต่ต้น  จิบควบคุมสสารได้โดยรู้กฎองสสารเรียกว่าชีวสสารนิยม
                รังสรรค์นิยมเป็นทวินิยมทางอภิปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงปฐมชาติมี 2 อย่างได้แก่  จิตกับสสาร  จิตเป็นใหญ่กว่าเพราะเป็นผู้สร้างสสารเรียกว่า  พระเจ้าและปล่อยให้สสารดำรงอยู่ด้วยตัวเอง  แต่พระเจ้าผู้สร้างก็มีอำนาจควบคุมและทำลายล้างสสารคือธรรมชาติ  พืช สัตว์ มนุษย์ได้ตามพระประสงค์ได้ตามพระประสงค์  นักปรัชญาคนสำคัญคือ  เซนต์  ออกัสติน  ได้กล่าวว่า พระผู้สร้างเป็นความแท้จริงสูงสุดทรงเป็นนิรันดร  เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์  ตามหลักตรีเอกภพ  พระเจ้าทรงเข้าใจในพระองค์เอง  พระเจ้าผู้ถูกเข้าใจและเมื่อทรงเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดีที่สุดก็ย่อมเกิดความปิติ  ส่วนจิตที่ปนอยู่กับสสารคือจิตมนุษย์ความจริงระดับต่ำสุดคือ สสาร  ซึ่งพระเจ้าสร้างขึ้นให้มีความแท้จริงของตนเอง  และมีพลังวิวัฒนาการอยู่ในตัว
                ชีวสสารนิยม (จิตสสารนิยม) เป็นทวินิยมทางอภิปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงนั้นคือจิตและสสารต่าง ๆ ก็เป็นความจริงที่ไม่ขึ้นต่อกัน  มีอิสระต่อกัน  นักปรัชญาคนสำคัญ  ได้แก่ธาเลส  ซึ่งเชื่อว่าจักรวาลมีกฎเกณฑ์ของตนเอง โดยไม่ได้รับจากจิตหรือเทพใดทั้งสิ้น  เทพสามารถควบคุมหรือบันดาลให้เหตุการณ์ธรรมชาติเป็นไปได้ตามประสงค์ก็เพราะรู้กฎธรรมชาติ  ไม่ใช้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ  หรือเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ธรรมชาติ  ดังที่คนดึกดำบรรพ์เข้าใจกัน  เพราะฉะนั้นทั้งเทพ จิตมนุษย์  และสสารต่าง ๆ ก็เป็นความจริงโดยอิสระของตนเอง
                พหุนิยม
                คือ  ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงมีอยู่หลายหน่วย  ซึ่งอาจจะเป็นจิต  หรือสาร  หรือทั้งจิตและสสารก็ได้  นักปรัชญาพหุนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งที่มีจำนวนมากมายหลายหลากในเอภภพนี้  ไม่อาจจะทอนลงให้เหลือเพียงหนึ่งเดียวหรือสองได้เลย  แต่อย่างน้อยที่สุดปฐมธาติก็ต้องมีสามหน่วยขึ้นไป  เพราะเป็นเอกภพที่มีความสลับซับซ้อนมาก  นักปรัชญาพหุนิยมได้แก่
                เอ็มพีโดคลีส  เป็นนักปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้น  ถือว่าปฐมธาตุของสรรพสิ่งไม่ใช่เพียง 1 หรือ 2 อย่างเท่านั้น แต่มี 4 อย่าง คือ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ  สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะการรวมตัวกันเป็นธาตุทั้ง 4 นี้ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน จึงเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมากมายหลายหลาก  การที่สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ก็เพราะมีการเปลี่ยนแปลง อัตราส่วนของธาตุต่างๆ ในตัวมัน การสูญสิ้นสภาพของสิ่งทั้งหลายก็เพราะเกิดการแยกตัวออกจากกันของปฐมธาตุเหล่านั้น ลักษณะของปฐมธาตุแต่ละอย่างนั้นคงที่เสมอ ไม่เกิดใหม่ ไม่แตกดับเป็นนิรันดร นักพหุนิยมอีกท่านหนึ่งคือ ไลบ์นิซ เป็นนักปรัชญาพหุนิยมฝ่ายจิต เชื่อว่าความแท้จริงมีลักษณะเป็นจิต มีจำนวนมากมาย เรียกว่า ปรมาณูทางจอต ( Monad ) ซึ่งแต่ละหน่วยมีความพอใจตัวเองมีความอิสระ ( พระอมรมุนี , 2515 : 316 )

บทสรุป

          อภิปรัชญาเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกเกิดจากความประหลาดใจ และความสงสัยของมนุษย์สมัยโบราณ ที่มีต่อ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์นี้เองทำให้มนุษย์ต้องสืบหาสาเหตุของความเป็นจริงเหล่านั้นซึ่งคำตอบที่ได้อาจถูกบ้างผิดบ้างจนในที่สุดก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง จากคำตอบที่ถูกต้องนี้แหละคือความรู้ทางอภิปรัชญา แม้จะแยกย่อยเป็นจำนวนมากแต่อยู่ในขอบเขตของสาขาใหญ่ๆ 3 สาขาของอภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม นอกจากอภิปรัชญา 3 สาขาใหญ่แล้ว ยังมีภววิทยาซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของอภิปรัชญา ซึ่งในศาสตร์ของภววิทยานี้ได้แยกออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม ทวินิยม และพหุนิยม อภิปรัชญาถือว่าเป็นหลักของโครงสร้างของวิชาปรัชญา ถ้าขาดอภิปรัชญาเสียแล้ว ปรัชญาก็มีไม่ได้ ดังนั้นในการนำเอาปรัชญาไปประยุกต์ใช้จำเป็นต้องยึดโครงสร้างอภิปรัชญาเป็นหลักสำคัญ
อ้างอิง : รศ.พิมพ์พรรณ  เทพสุเมธานนท์ (และคณะ).ปรัชญาการศึกษา EF703 (603).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ถ้ายุคใดที่จิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำ ยุคนั้นมนุษย์ต้องทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ"



จิตสำนึกตกต่ำ หมาย ถึง มนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณของสมองได้ ดีแต่ใช้อารมณ์รู้สึกกับการนึกของจิตขับเคลื่อนพฤติกรรม และดีแต่ท่องจำข้อธรรมะเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้เลย ตัวอย่างเช่น การคิดลบต่อผู้อื่น กล่าวร้ายต่อผู้อื่น หรือการใช้วาจาเหยียดหยามถากถาง จาบจ้วงผู้อื่น เป็นต้น